ตอน14           

                 <<<< ประเพณี ของชาวสวิส >>>>

 

Jodeln

Alphornblasen

Fahnenschwinger

 

Der Eidgenoessische Jodlerverband

การร้องเพลงเขย่าลูกกระเดือกของคนสวิส

   

Jodler ปี  1910                                 JK Ebnat-Kappel ปี 1913

   

Ebnat-Kappel เป็นหมู่บ้านอยู่ที่           Toggenburg Kanton Appenzell

การร้องเพลงแนวนี้มีมานานแล้วร้องเขย่าคอจนกระทั่งถึงปี 1895 แถว Appenzell และ Toggenburg เป็นคนที่เลี้ยงพวกสัตว์ดูแลวัวบนภูเขา ลองไปดูคนเลี้ยงสัตว์จะเห็นเขาเรียกสัตว์หรือน้องวัวนมโต เป็นเสียงสูงต่ำ คำรามอยู่ในลำคอ แบบ หอยๆๆๆๆแซะๆๆๆๆขยักลำคอสักหน่อย ค๋อมค๋อมมมมม เห็นมะเสียงจะขยักไปมา  ด้วยเหตุนี้คนหัวใสเลยเอามาดัดแปลงร้องเพลงแข่งกัน

การก่อตั้งสมาคมร้องเพลงแนวร็อคสวิสแนวนี้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1910 ที่ Kanton Bern สมาคม EJV( Der Eidgenoessische Jodlerverband) ประเพณีของคนสวิสที่ทำกันหลายอย่างเช่น

 

Jodeln

เป็นการร้องเพลงแนว โย่ว....โย่ว.....ฮี้โฮๆๆๆๆๆ  ระโร่ฮี้โฮๆๆๆๆๆ ทำลูกกระเดือกขยับไปมา  คนร้องจะเอามือใส่กระเป๋าทุกคน คนไหนที่เสียงดีเป็นคนร้องนำเขาจะให้ยืนตรงกลาง  ครูที่ทำการสอนจะดูสะภาพลูกคอของทุกคนว่ามีโทนเสียงแบบไหน  แต่ละคนที่ร้องจะต้องทำปากจู๋ถ้าไม่จู๋เสียงจะออกไม่ดีไงแบบห่อเสียง ใครอยากฟังเพลงแนวนี้ลองไปคลิกดูที่ให้มาเป็นตัวอย่าง

เพลงแรกชื่อ Muss wieder einisch  เป็นเพลงรำพันหมายถึงการทำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

เพลงที่สองชื่อ e Chilterbueb   เป็นเพลงหนุ่มชาวนาเกี้ยวสาวโดยการเคาะหน้าต่างเรียก

เพลงที่สามชื่อ Thunerlied  เป็นเพลงรำพันถึงความสวยงามของธรรมชาติเขต Berner Oberland เช่นThun, Niesen

 

ต่อมาก็เริ่มมีสมาคมเขย่าลูกคอเพิ่ม

ปี 1922     Zentralschweizerischer Jodlerverband (ZSJV) อันมี
Kantone: Luzern, Nidwalden, Obwalden, Schwyz, Uri, Zug.

ปี 1932      Nordostschweizerischer Jodlerverband (NOSJV) อันมี
Kantone: Appenzell I/Rh, Appenzell A/Rh, Glarus, Graubuenden, Schaffhausen, St. Gallen, Thurgau, Zurich, Fuerstentum Liechtenstein

ปี  1935     Nordwestschweizerischer Jodlerverband (NWSJV),อันมี
Kantone: Aargau, Baselland, Baselstadt, Solothurn

ปี  1937    Westschweizerischer Jodlerverband (WSJV),อันมี
Kantone: Freiburg, Genf,  Neuenburg, Waadt, Wallis

การตั้งสมาคมเขย่าลูกคอJodeln นี้คนสวิสที่อยู่ต่างประเทศคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอนก็จัดสมาคมขึ้นมา หลายประเทศเช่น Amerika, Australien, Kanada, Neuseeland und Suedafrika  สมาคมต่างประเทศจะประสานการทำงานร่วมกับสมาคมในสวิตเซอร์แลนด์

 

Alphornblasen

Alp   ภูเขา
Horn  เขาสัตว์
Blasen  การเป่า

NOSJV ปี 1935 ที่ Chur

คนสวิสสมัยก่อนอยู่กับธรรมชาติจริงๆและการคมนาคมไม่สะดวกเหมือนทุกวันนี้ ขาโจ๋สมัยก่อนการส่งข่าวถึงกัน ถ้าไม่เอาฟืนมาเผาให้ไฟลุกให้มีแสงไฟหรือมีควันพุ่งโขมงส่งสัญณาณกัน แต่ไม่ใช่แบบเผาป่าแบบขาโจ๋สมัยใหม่นะ ไอ้แบบนี้แย่มากมันเป็นการทำลายทัพยากรณ์ธรรมชาติอย่างมาก น่าจะจับพวกนี้มาใส่ขี้หมาห่อตลอดชีวิต

และการส่งข่าวถึงกันอีกแบบคือการเป่าแตรเขาสัตว์ส่งสัญญาณกันถ้าใครดูหนัง Tell จะเห็นเขาเป่าแตรส่งสัญญาณกันและเป็นจังหวะ  พวกหน่วยสื่อส่งสัญญาณต้องเป่าเก่งและเป่าจริงๆไม่ใช่เป่ามั่วๆไปหมดแทนที่จะบอกให้หนีข้าศึกซวยไปนึกว่าเรียกให้มาหา

คนที่อยู่บนเขาสูงๆบางภาคยังใช้แตรนี้อยู่นะ เขาจะเอามันมาเป่าตอนยามเย็นเสียงดังไปทั่วเทือกเขาฟังเยือกเย็นมาก การเป่าคงจะเป็นการแสดงออกทางอารมณ์อย่างหนึ่งนะป้าว่า ยิ่งเป่าเสียงดังเท่าไรน้องวัวจะสั่นกระดิ่งแข่งทันที ใครอยากจะฟังก็ให้ปีนขึ้นเขาไปฟังเองก็แล้วกันนะป้าไม่ไปด้วยหรอก หมดอารมณ์กับลุงมาแล้วแกพาไปดูขี้กวางภูเขาแกแค่กองเดียวต้องปีนเขาสูงตั้ง2000 เมตร

ต่อมาคนสวิสได้ดัดแปลงเอาไม้มาทำเป็นแตรยาวและเป่าแข่งกัน  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสวิตเซอร์แลนด์ได้ก่อตั้งสมาคมนักเป่าแตรยาว Jodlerverband ขึ้นมาเมื่อปี 1932 และเริ่มงานเทศกาลเป่าแตรยาวเป็นครั้งแรกที่เมือง Arbonเมื่อปี 1934 มีแตรยาวมาเป่า 7 อัน คนเป่าสมัยก่อนพวกซูโม่ทั้งนั้น  เพราะต้องการความเข้มแข็งในการเป่าแตรไม่ใช่เป่าทางปากออกทางตูดดังปู๊ดปร๊าดไปหมดแบบนี้แย่หน่อย ผู้ชมคงสลบกันเป็นแถบๆ

ต่อมาคนมาสมัครมากขึ้น  เรื่องเป่าคนสวิสชอบมากลุงก็อยากจะไปเป่ากับเขานี่ด่าแกไว้เลยไม่กล้าซ่าไปเรียนเป่าแตร  เขามีการสอนนะไม่ใช่อยู่ๆใครๆก็เป่าได้  ครูเขาจะสอนการเป่าลมออก ไม่ใช่เป่าจนหน้าเหลืองหน้าเขียวเป็นลมคาแตรไปเลยแบบนี้เขาไม่เอา และอยู่ในเมืองขืนลุกขึ้นมาซ้อมเป่ากลางค่ำกลางคืนตำรวจจะได้มาลากคอเข้าซังเตแน่ๆ

ปี 1935    เขาจัดที่จังหวัด Chur            มีคนมาเป่า      15

ปี 1948    เขาจัดที่    Ebnat-Kappel      มีคนมาเป่า      22

ปี 1966    จัดที่  Chur                             มีคนมาเป่า      66

ปี 1977    จัดที่  Glarus                          มีคนมาเป่า    121

ตอนนี้มีคนเข้ามาร่วมสมาคมเป่าแตรยาวมากประมาณ 25,000 คน สวิสมีความภาคภูมิใจในชาติของตนมากสิ่งไหนที่แสดงออกได้เขาจะเข้าร่วมทันที ถึงแม้จะมีดนตรีแนวใหม่มามากมายแต่คนสวิสยังภาคภูมิใจสิ่งเก่าแก่ของตัวเอง

การเป่าแตรยาวแข่งขันจะมีกรรมการมาตัดสิน จะแบ่งเป็นกลุ่ม    เป่าด้วยกัน 2 คนหรือ3คน หรือเป่าพร้อมกับดนตรีอย่างอื่นพร้อมกันไปแบบทีมเวิร์ค

 

Fahnenschwinger

   

คนสวิสขว้างธงขึ้นในอากาศนี้ขว้างกันจน 150ปีแล้วทุกวันก็ยังขว้างกันอยู่  ไม่เหมือนเมียไทยเราเวลาไม่สบอารมณ์ก็ผัวเราไม่ขว้างหรอกคว้าอีโต้สับเลย
ธงที่ใช้ขว้างจะมีด้ามไม่ยาวเกิน
118 ซม.(แต่ถ้าขว้างแข่งกันเขาจะกำหนดความยาวมาให้) และจะขว้างขึ้นให้มาเข้ามือเราใหม่นี่จะใช้เวลาประมาณ 3นาที  ทุกปีเขาจะมีการแข่งขันขว้างธงกัน
ถ้าเป็นการขว้างธงชาติสวิสหรือธงประจำจังหวัด จะมีขนาด 
120cm x 120cm

   

จะเป็นการแข่งขว้าง เดี่ยว   แข่งคู่  หรือเป็นทีมการขว้างจะต้องพร้อมกันและภายใน 3 นาทีต้องเข้ามือพร้อมกันขว้างซ้ายขว้างขวา

การแข่งจะต้องอยู่ภายในวงกลมข้างนอกรัศมี 150 ซม คนขว้างธงไม่ว่าหญิงหรือชายจะก้าวขาไปซ้ายหรือขวาไปมาได้แต่ไม่เกิน 60ซม. ใช้เวลาประมาณ 3 นาที  แต้มคะแนนที่คิดจะเริ่มจาก  คะแนน  30  ถ้าธงตกจะโดนหักคะแนน

 

 

 

การขว้างธงเราจะเห็นได้บ่อยๆจากงานเทศกาลเดินขบวนที่จัดขึ้น  การขว้างเราต้องไปเรียนจากครูคนสอน  ไม่ใช่อยู่ๆเราจะไปขว้างกับเขา  ขืนทำแบบนั้นเขาดีดเราออกมาไม่ทันแน่ๆ  เพราะขว้างธงไปโดนหัวหูผู้ชมเกิดคดีทำร้ายร่างกายแบบนี้ซวยไม่ได้กลับบ้านพร้อมผัวแน่นอน

 

SWITZERLAND กับ THAILAND

หลังจากที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯเสด็จทิวงคตเมื่อวันที่ 2 กันยายน พศ. 2472  สมเด็จย่าทรงรับหน้าที่อบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสามพระองค์เพียงลำพัง และทรงตัดสินพระทัยเสด็จประทับที่เมือง Lausanne ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปีพศ. 2476 เพื่อรักษาพระพลานามัยของพระราชโอรสองค์ใหญ่ ทรงใช้ชีวิตครอบครัว แม่-ลูก ที่สวิตฯอย่างอบอุ่นและสงบสุขเหมือนครอบครัวอื่นทั่วๆไป ชาวสวิสรักและเทิดทูนพระองค์มาก

สมเด็จย่าได้เสด็จกลับมาประทับในประเทศไทยเป็นการถาวร ณ วังสระประทุม พศ.2494 และได้เสด็จกลับมาพักผ่อนพระอริยาบถเป็นครั้งคราวๆละนานหลายเดือน พระองค์ทรงชอบสวิตเซอร์แลนด์มาก ใครอยากอ่านรายละเอียดควรหาหนังสือ "แม่เล่าให้ฟัง" พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราช นครินทร์ มาอ่าน

ขอขอบคุณ ลุง ผู้ถ่ายทอดวิชา และความรู้ การใช้ชีวิตในสวิตเซอร์แลนด์
ขอบคุณ วิทยาทานทั้งหลายได้อ่านจากเวบไซด์
ต่างๆที่เกี่ยวกับสวิตเซอร์แลนด์
ขอบคุณ เพื่อนชาวสวิส ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ให้ฟัง
ขอบคุณผู้อ่านทั้งหลายที่เข้ามาอ่าน

****** DANKE  SCHOEN ******