ตอน3
<<<< Aufenthaltsrecht - Residence permit
>>>>
สิทธิการพำนักในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
-
ผู้ที่สมรสกับชาวสวิสมีสิทธิอยู่ในสวิตฯได้โดยจะได้ใบอนุญาตพำนักประเภท บี
(B-Ausweis)
ซึ่งมีสิทธิในการทำงาน ขึ้นอยู่กับรัฐที่อยู่อาศัย
และหลังจากได้ใบอนุญาตประเภท บี
5
ปีเต็มแล้ว จะได้ใบอนุญาตประเภท ซี
(C-Ausweis)ต่อไป -
การยื่นคำร้องขอสัญชาติเมื่ออยู่ครบ
5
ปี ต้องยื่นขอจากอำเภอในเขตที่พักอาศัย
อาจต้องใช้เวลานานพร้อมทั้งค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูง -
กรณีหญิงที่แต่งงานกับชายชาวสวิส ที่ใช้ชีวิตคู่
3
ปีขึ้นไป และอยู่ในประเทศสวิตฯเป็นเวลาติดต่อกัน
5
ปี
จะสามารถยื่นคำร้องขอสัญชาติได้(Gesuch um erleichterte
Einbuergerung) -หลังจากแต่งงานเรียบร้อยแล้ว
หากมีความประสงค์จะนำบุตรที่เกิดมาจากสามีเดิมมาอยู่ที่สวิตช์ด้วยจะต้องยื่นคำร้องพร้อมใบรับรองสิทธิอำนาจในการปกครองบุตรแค่เพียงผู้เดียว
(จากสามีเดิม)Sorgenrecht
ต่อกรมตำรวจต่างด้าวก่อนจะไปรับบุตรมา
เมื่อทางกรมตำรวจฯตรวจสอบเรียบร้อยแล้วจึงจะออกใบอนุญาตแก่บุตรต่อไป -
บุตรที่มีสิทธิมาอยู่กับมารดาได้นั้น ต้องมีอายุไม่เกิน
18
ปีเท่านั้น -
หญิงไทยที่มีสันชาติสวิสหรือมีใบอนุญาตพำนักประเภท ซี(C-Ausweis)
แล้วมีความประสงค์รับบิดามารดาหรือคนใดคนหนึ่งมาอยู่สวิตช์
สามารถยื่นคำร้องต่อหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองในเขตรัฐที่ตนอยู่อาศัยแต่ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
สำหรับBern
นั้นมีโอกาสได้รับอนุญาตน้อยมากกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆอาจทำคำร้องเพิ่มเติมจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับเหตุผลของการร้องเรียน
ผู้ที่สมรสกับชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
-
ในกรณีของผู้ที่มีใบอนุญาตพำนักประเภทซี
แล้วจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติซึ่งจะได้ใบอนุญาตพำนักประเภทบี
และสามรถทำงานตามกฎหมายของรัฐที่อยู่อาศัย -
ในกรณีของผู้ที่มีใบอนุญาตพำนักประเภท บี
จดทะเบียนสมรสครั้งใหม่กับชาวสวิสหรือต่างชาติที่มีใบอนุญาตพำนักในประเทศสวิตฯหลังจากการจดทะเบียนสมรส
ต้องเริ่มใช้ใบอนุญาตพำนักประเภทบีใหม่(อาจมีข้อยกเว้น)
ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละรัฐและเริ่มนับเวลาใหม่ -
ในกรณีของผู้มีวีซ่านักท่องเที่ยวแล้วประสงค์จะจดทะเบียนสมรสกับชายต่างชาติที่มีสิทธิพำนัก
และมีอาชีพการงาน
จะต้องยื่นคำร้องแสดงความจำนงที่จะนำภรรยาหรือสามีมาอยู่ในประเทศสวิตฯ(Familiennachzug)
ทางราชการจะมาตรวจสอบที่อยู่อาศัยและตรวจสอบด้านการเงินของผู้ร้องก่อนจะออกใบอนุญาตพำนักให้
|