News:

ยินดีต้อนรับ สู่ Pall Swiss เว็บบอร์ดตัวใหม่

Main Menu

**EMMENTAL**

Started by pall, January 04, 2004, 08:19:13 PM

Previous topic - Next topic

pall




 
บ้านใหม่ที่ Worb จัดว่าอยู่ในเขตของ Emmental
Emmental ตั้งอยู่ตรงกลางของสวิตเซอร์แลนด์  
ล้อมรอบไปหุบเขาเป็นเขตที่สวยมาก
มีเอกลักษณ์ประจำตัวหลายอย่าง  
ไม่ว่าจะเป็นด้านชีวิตความเป็นอยู่ประเพณีสำคัญ  
การแต่งกาย และความสวยงาม ชีวิตผู้คนแถบนี้
จะแตกต่างกว่าแถบอื่นมากถ้าใครมาสัมผัสถึงจะรู้  
อย่างเครื่องแต่งกายประจำท้องถิ่นที่ป้าเคยเขียนเล่าไว้  
ถ้าใครไม่ได้อ่านลองแวะเข้าไปอ่านอีกครั้ง
เกี่ยวกับการแต่งกายประจำท้องถิ่นของKanton Bern
<<<Trachtegruppe in SWITZERLAND....และการแต่งกายประจำท้องถิ่นของ Kanton BERN >>>

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0124 ห้อง pallswiss (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

pall




 
 
 ถ้าเอ่ยถึงคำว่า Emmental คนจะนึกถึงแต่คำว่าเนยแข็ง  
 ว่าไปก็ถูกเพราะเขตนี้ผลิตเนยแข็งชนิดนี้
 เป็นเนยแข็งที่มีเอกลักษณ์ประจำตัวเหมือนคนที่อยู่แถบนี้
 คือเนยแข็งที่มีลักษณะเหมือนโดนหนูแทะลองสังเกตดูให้ดี
 
 **EMMENTAL**
 
 มีจำนวนประชากรทั้งหมด   148,503  คน
 เป็นเขตที่จัดว่าเขตกสิกร และการทำเนย
 
 มี Gemeinden  ทั้งหมด  33 Gemeinden
 Gemeinde Lyssach , Gemeinde Aefligen
 Stadt Burgdorf, Gemeinde Ersigen,
 Gemeide Affoltern, Gemeinde Baetterkinden, Gemeinde Duerrenroth,
 Gemeinde Grosshoechstetten, Gemeinde Huttwil, Gemeinde Linden,
 Gemeinde Luetzelflueh,  
 Gemeinde Niederhuenigen,
 Gemeinde Roethenbach, Gemeinde Sumiswald,
 Gemeinde Trub, Gemeinde Walkringen
 Gemeinde Wynigen
 Gemeinde Zaeziwil , Gemeinde Konolfingen, Gemeinde Hindelbank,
 Gemeinde Oberburg, Gemeinde  Signau, Gemeinde Trubschachen,
 Gemeinde Schangnau, Gemeinde Eggiwil, Gemeinde Roederswil,
 Gemeinde Worb, Gmeinde Bowil, Gmeinde  Arni ,
 Gemeinden Hasle und Roegsau,  
 Gemeinde Langnau,
 Gemeinde Lauperswil.Gemeinde Biglen
 
 

pall




 
 
 **EMMENTAL**
 
 อยู่*งจาก Basel 80 km  
 อยู่*งจาก Bern-Belp 20 km
 อยู่*งจาก  Genf 190 km  
 เดินทางจาก  Zuerich 100 km
 เดินทางจาก  Luzern 50 km
 
 
 ** การเดินทางไปเที่ยวแถบ  Emmental**
 
 การเดินทางไปเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านไหน  
 ในเชต Emmentalสะดวกสบายมาก  
 สามารถเดินทางโดยรถยนต์รถไฟ  ของ SBB  
 
 http://www.sbb.ch/pv/index_d.htm
 
 และรถไฟประจำท้องถิ่นที่ใช้วิ่งแถบนั้น
 
 http://www.regionalverkehr.ch/pv/php/fahrplan/rm_1-de.php?01020101
 
 http://www.bls.ch/
 
 รถบัส  (Postauto)
 http://sorry.post.ch/unplanned.html
 
 

pall




 
 
 ** Schangnau**
 
 ลุงแกเริ่มเป็นโรคซึมเศร้าเพราะไม่ได้จั่วมาหลายวัน
 ป้าเลยเอาใจแกกัดฟันจั่วแกเลยดีขึ้นแต่แทบจะตีกันตาย
 เพราะชอบเล่นโกงเปลี่ยนไพ่กัน
 ขณะที่นั่งจั่วกัน2คนแก้กลุ้มจั่วไปดูทีวีไป  
 เสียงลุงร้องลั่นเลยบอกว่า*หนุ่มคนนั้นเคยจั่วไพ่กับแก
 ที่ Belp (ชื่อหมู่บ้านเขต Bern)
 
 เราเลยหยุดเล่นไพ่จ้องดูทีวีกัน  
  เขาถ่ายทอดเรื่องของ Kaese(เนยแข็ง)  
 ที่ทำในเขต Emmental หมู่บ้าน Schangnau  
  เป็นรายการที่น่าสนใจมาก และน่าเศร้ามาก
 

pall




 
 
 ** Schangnau  **
 อยู่ในเขตSchallenberg มีอาณาเขตติด Langnau  
 เป็นหมู่บ้านเล็กๆที่สวยงามเงียบสงบ  ล้อมรอบไปด้วยหุบเขา
 สภาพความเป็นอยู่มีเอกลักษณ์ประจำตัวมาก
 คือบ้านที่สร้างอยู่อาศัยที่เป็นทรงแปลกตา  
 บ้านชาวนาทรงEmmental สวยมาก
 เป็นบ้านที่จั่วข้างนอกสร้างโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม
 
 

pall




 
 
 มีระเบียงทอดยาวเป็นทางเดิน  
 หน้าร้อนใช้ห้อยประดับพวกดอกเยอเรเนี่ยม สวยมาก  
 ข้างๆระเบียงที่เดินจะมีที่นั่งสำหรับนั่งพักผ่อนดูคนเดินไปมา  
 บ้านชาวนาทั่วๆไปจะมีม้านั่งยาววางอยู่ข้างหน้า
 สำหรับนั่งต้อนรับผู้คนที่เดินทางมาใช้นั่งพักเหนื่อย  
 หรือนั่งคุยกับคนรู้จักที่เดินผ่านไปมา
 และมีอ่างน้ำยาวที่มีน้ำก๊อกไหลตลอดทั้งวันทั้งคืน  
 มีช่องปล่อยให้น้ำไหลอยู่ข้างล่างเพื่อทำความสะอาด  
 อ่างพวกนี้ที่สำหรับใช้ล้างพวกเครื่องมือ ทำความสะอาดผัก
 และใช้ทำทุกๆอย่างน้ำพวกนี้ไหลมาจากบนภูเขา
 Schangnau เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับนักเดินเขา  ,กระโดดร่ม
 เล่นเทนนิส ,ขี่ม้า ฯลฯ เป็นต้น
 
 ทางแถบนี้มีโรงงานทำเนยแข็งยี่ห้อ  Emmentaler  
 หลายแห่งด้วยกัน
 
 

pall




 
 
 **Emmentaler**
 
 เนยแข็ง Emmentaler  แหล่งกำเนิดของเนยแข็งชนิดนี้
 ทำกันแถบEmmental เลยเรียกชื่อว่า Emmentaler
 คิดว่าทำกันมาสมัยปี 1200    
 ทำมาจากนมวัว ลักษณะจะเป็นเนยรูปร่างกลม  
 น้ำหนักประมาณ 75 กก.ถึง 150 กก
 เนยแข็งชนิดนี้จะมีสีเหลือง  รสเค็มนิดหน่อยออกมันอร่อย  
 ลักษณะพิเศษคือรูกลมๆรูนี้ใหญ่ประมาณ 2ซม. ถึง 4 ซม.
 เนยแข็งตอนที่ทำใหม่ๆยังไม่มีรูแบบนี้  
 หลังจาก 90 วันไปแล้วถึงจะเริ่มมีรู    
 Emmental เขตนี้จะผลิตเนยแข็งประมาณ 44500  ตัน / ปี
 
 เขตEmmental นี้นับว่าเป็นเขตกสิกรอย่างแท้จริง  
 ถ้าใครเคยอ่านหนังสือที่ Jeremias Gotthelf เขียน
 ใครที่ไม่รู้จักลองแวะเข้าไปอ่านที่ป้าเขียนถึง
 เรื่องเกี่ยวกับการแต่งกายประจำท้องถิ่น
 จะเห็นป้าเขียนถึงอย่างคร่าวๆ  Jeremias Gotthelf  
 ได้เขียนเล่าถึงชีวิตชาวนาสมัยก่อนละเอียดมาก  
 ทำให้เราได้รู้ถึงการดำรงชีวิตของคนยุคนั้นอย่างดี
 
 สมัยก่อนชาวนาจัดว่ามีอิทธิพลและมีฐานะร่ำรวยมาก  
 แต่ปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนไปน่าเสียดายมาก
 ที่ชาวนาในสวิตฯได้เลิกการทำนาถึง 30 %  
  และแนวโน้มในปัจจุบันทำท่าจะลดลงไปอีก  
 ชาวนาตอนนี้ไม่แน่ใจกับสภาพหลายๆอย่าง  
 และไม่กล้าเสี่ยง*้เงินจากธนาคารของรัฐมาลงทุน  
 บางคนล้มเลิกการทำนาหันไปประกอบอาชีพอื่น  
 บางคนขายบ้านชาวนาเอาเงินมาใช้ ตอนมีชีวิตอยู่
  ดีกว่าปล่อยให้รุ่นลูกหลานซึ่งไม่สนใจ
 กับการทำนาแล้วและไม่แน่ถ้าตายไปลูกหลานก็ขายอยู่ดี
 ป้าเห็นคนแก่บางคนอยู่อย่างอดอยากตอนมีชีวิตอยู่
 ไม่ซื้ออะไรดีๆกินตอนตายมีเงินเหลือมากมาย
 ลูกหลานยิ้มกริ่มเลยดีใจมาก....
 

pall




 
 
 โรงงานที่ผลิตเนยแข็ง Emmentaler  
 ในเขต Schangnau มีด้วยกัน 5 แห่งแต่ปิดกิจการไปแล้ว 2 แห่ง  
 สงสารพวกชาวนาที่เคยส่งนม ต้องไปส่งที่เขตอื่น
 ที่อยู่ไกลไปอีกร่วม 10  กม. ถ้าสำหรับพวกเราแล้วไม่ไกลเท่าไร  
 แต่สำหรับชาวนาไม่คุ้มเลยถ้าเปรียบเทียบถึงราคานม
 ที่ได้รับกับค่าน้ำมันแต่ถ้าไม่ทำก็ไม่รู้จะไปส่งนมที่ไหน
 
 น่าเสียดายมากเลยที่โรงงานผลิตเนยแข็งของ Schangnau  
 ที่ปิดตัวลงอายุมากถึง 175 ปีเป็นโรงงานที่รุ่นปู่ทำไว้
 และชาวนาแถบนั้นเอานมมาส่งทุกเช้ามืด  
 ภาพแบบนี้จะไม่มีโอกาสได้เห็นอีกต่อไปป้ารู้จักดีเพราะเคยไปกับลุง  
 
 ว่าไปแถบ Emmental  เหมือนเป็นถิ่นกำเนิดอันดับสอง
 ที่ป้ามาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่  ถ้าจัดเหมือนเป็นบ้านอันดับสองก็ว่าได้  
 ป้ามาใช้ชีวิตที่นี่มากกว่าเมืองไทยเสียอีก
 และใช้ชีวิตคุ้นเคยกับคนแถบนี้
 จึงเข้าใจถึงความรู้สึกของพวกเขาเป็นอย่างดี  
 ยอมรับว่าชอบมากการใช้ชีวิตแบบนี้  ง่ายๆ  สมถะ  
 แต่แฝงไปด้วยเสน่ห์ที่บางคนอาจจะมองข้ามไป
 
 สัจธรรมของชีวิตถ้าเรามองอย่างลึกซึ้งเราจะได้ข้อคิดหลายอย่าง  
 คนเราจะเอาอะไรนักหนากับชีวิต  จะยึดมั่นยึดเหนี่ยวอะไรกันนักหนา
 การเกิด  การแตกดับสูญเสียเป็นเรื่องธรรมดาของโลก
 เช่นเจ้าของโรงงานนี้ก็เช่นกันซึ่งเป็นรุ่นหลาน  
  เขายอมรับสภาพทั้งน้ำตาว่าไม่สามารถรักษาของที่รุ่นปู่สร้างมาได้    
 
 ป้าว่าน่าภูมิใจเสียอีก ที่เขาเข้าใจกับชีวิตเป็นอย่างดี  
 ตอนแรกๆอาจจะต้องใช้เวลาหน่อยกว่าจะปรับสภาพได้  
 เขายอมรับว่าตอนแรกกินไม่ได้นอนไม่หลับ  
 จากการเป็นหัวหน้าต้องมารับจ้างขับรถบรรทุก
 เงินเดือนไม่พอกิน เมียต้องออกไปทำงานช่วย  
 แต่ถ้าคิดกันจริงๆป้าว่าเขายังดีกว่าคนอีกเป็นจำนวนมาก
 
 
 เคยสังเกตไหมว่าเนยแข็งยี่ห้อ  Emmentaler  
 มีรูปร่าง สี และราคาแตกต่างกันมาก  
 บริษัทใหญ่ที่สุดที่สามารถบงการ
 และกำหนดราคานมและเนยทุกชนิดในสวิตฯ
 คือบริษัท EMMI ซึ่งมีสาขาหลายแห่งในกลุ่ม EU  
 สวิตช์และอเมริกาซึ่งจำหน่ายเนยแข็งจำนวนถึง 30 ล้านกก./ปี  
 ทั้งในและนอกประเทศ  
 
 ค่าครองชีพและราคานมและราคาผลผลิตในสวิตเซอร์แลนด์
 จัดว่าสูงกว่าผลผลิตที่มาจากประเทศในกลุ่ม EU  
 ดังนั้นบริษัท EMMI จึงได้รับซื้อผลผลิต
 ที่ให้ราคาต้นทุนต่ำกว่าเพื่อขายเพิ่มผลรายได้ให้บริษัท  
 ชาวนาสวิสบางกลุ่มออกไปทำนาหรือทำเนยแข็งนอกประเทศ
 และขายในราคาที่ต่ำกว่าของที่ผลิตภายในประเทศ
 จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เปอร์เซ็นต์ของชาวนาลดลงไปมาก
 เพราะเมื่อบริษัท EMMI ไม่ยอมทำสัญญารับซื้อนม
 
 เนยแข็งและต่อไป  ดังนั้นกิจการต่างๆจึงต้องหยุดลงโดยปริยาย
 นี่คือสาเหตุที่ทำไมโรงงานทำเนยถึงต้องปิดตัวลง
 
 **Emmentaler**
 
 ที่ขายตามท้องตลาดจะมี2ลักษณะ
 คือผิวข้างนอกที่มีลักษณะแข็งจะมีผิวสีเหลืองอมส้มและสีดำ
 และบางครั้งถ้าสังเกตดูจะมีคำว่า Emmentaler  Switzerland
 เขียนติดอยู่  และจะมีแต่คำว่า Emmentaler อย่างเดียว
 
 ความแตกต่างของชื่อนี่แตกต่างกันมากแต่คุณภาพ
 และรสชาติไม่ได้แตกต่างกว่ากันเท่าไรเลยเหมือนกันทุกอย่าง
 
 **Emmentaler**
  ต้นกำเนิด จะเป็นเนยแข็งที่ทำออกมาจะต้องเป็นก้อนกลม
 
 **Emmentaler Switzerland**
 จะทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยมและห่อใส่พลาสติก
 การทำแบบนี้ราคาต้นทุนผลิตจะถูกมากกว่า Emmentalerธรรมดา
 

pall




 
 
 ** Höhlengereifte Emmentaler**
 
 ผิวข้างนอกจะออกเป็นสีดำไม่หนา
 เหมือนเนย Emmentalerธรรมดา
 เป็นเนยแข้งที่มีรสค่อนข้างจะเข้มข้น แต่ละก้อนจะมีขนาดไม่ใหญ่มาก
 เนยแข็งชนิดนี้จะมีวิธีการทำที่น่าสนใจมาก
 วิธีการทำใช้สูตรการทำเนยแข็งแบบสมัยก่อน
 ต้องอาศัยที่จะเก็บเนยแข็ง ที่ต้องมีการถ่ายเทอากาศอย่างดี
 
 ก่อนอื่นเขาจะทำเนยแข็งชนิดนี้แบบธรรมดาก่อน
 ประมาณ 3เดือนจากโรงงานทำเนย
 และหลังจากนั้นก็นำมาเก็บในอุโมงค์ทรายหรือถ้ำ
 และจะต้องมืดสนิทไม่มีแสงสว่าง
 
 ทุกๆวันจะต้องกลับพลิกเนยแข็ง  หลัง 11 เดือน
 ก็นำออกขายสู่ท้องตลาดได้
 
 ใครก็ตามถ้าไม่เคยกินเนยแข็งชนิดนี้มาก่อน
 จะลองกินชิมรสชาติก่อนก็ได้  ไม่แน่ความอร่อย
 ของเนยเเข็งชนิดนี้อาจจะมีมนต์เสน่ห์มัดใจ
 ให้มาเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้
 
 หรือใครที่กำลังคิดจะมาเที่ยวลองแวะผ่านมาแถบนี้บ้าง
 ความสวยของธรรมชาติ  อากาศบริสุทธิ์
 เสียงระฆังจากที่ผูกคอวัว และความมีน้ำใจของคนที่อยู่แถบนี้
 อาจจะทำให้ไม่อยากจะอำลาสวิตฯไป
 

ป้าพร Stockholm

โฮ้ ป้าจ๋า อยากไปอยู่บ้านที่นั่น กินเนยแข็งอร่อยๆ แบบนั้น บรรยากาศ เหนีย  สุด สุด เลยนะป้า   อิจฉา คนที่ ได้พักอาศัยอยู่ ในเขตนั้นจริงๆเลยหละจ๊ะ             น้องว่า คนที่อยู่ในเขตนั้น อายุท่าทางจะยืนยาว
 กว่าคนที่อยู่ในเมืองหนะป้านะ
 
 บรรยากาศแบบนั้น มันเหมาะ สำหรับเรา ผู้ สูงอายุ  จริงๆ เลยป้า เห็นด้วย  กับความคิดเห็นที่ป้าจ๋า เขียนไว้เลย     หละจ๊ะ  ความสุขของคนเรา ก็อยู่ที่ใจเรานั่นเองหนะป้านะ        

นี่นะ

ป้าจ๋า
 ทำไมวิวทิวทัศน์มันถึงได้งดงามเพียงนั้น อย่างที่ป้าพรพูดนี่เด๊ะๆ เลยนะคะ

นิด

ทั้งวิวท์ ทั้งบ้านงามแต้ๆก้า  ว่าจะลดหุ่นอันอวบอั๋น ป้าก็มายั้วน้ำยายให้ไหลอีกแล้วนะจ๊ะป้าจ๋า

black tea

ชาดำมาสารภาพค่ะว่า หลงรักสวิสเซอร์แลนด์ก็เพราะบรรยากาศชนบทค่ะ
 ในเมืองหลวงก็เหมือนๆ กันทุประเทศ แต่ชนบทสวิส สวยมากจริงๆ ค่ะ
 ทะเลสาป  ภูเขา ทุ่งหญ้า บ้านบนเนินเขา โอ๊ย เกินบรรยายค่ะ

นิด

คุณชาดำจ๋า จริงหรื้ออออ ที่มาหลงรักแค่บรรยากาศของประเทสสวิตเซอร์แลน อิอิอิ

black tea

คุณนิดขา..........ตอนแรกก็ต้องหลงรักบรรยากาศดีๆ ก่อนซิ่คะ ถึงจะหลงรักอย่างอื่นได้ จริงมั๊ยตัวเอง