สวัสดีคะ อยากถามคะว่าการจดถะเบียนที่สวิสกับที่เมืองไทยนี่แตกต่างกันตรงไหนคะ

Started by ฟ้า, December 16, 2004, 03:05:10 PM

Previous topic - Next topic

ฟ้า

สวัสดีคะพี่พี่เพื่อนเพือน
    ฟ้ามีเรื่องสงสัยคะว่าการจดทะเบียนที่สวิสหรือที่เมืองไทยนี่แตกต่างกันตรงไหนคะบางคนบอกฟ้าว่าจดที่นี่จะดีกว่ามีสิดเทียบเท่าสามีจดที่เมืองไทยแล้วถ้าเกิดเลิกกันไปแล้วเราจะไม่มีสิดอะไรเลยใช่ไหมคะใครรู้เรื่องนี้ชว่ยแนะนำหน่อยคะ(ถามไว้เผื่อคะอนาคต)ตอนนี้ฟ้าอยู่สวิสคะ
 ขอบคุณคะ
 ฟ้า

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0506 ห้อง pallswiss (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

ส้มตำ

สวัสดีค่ะคุณฟ้า
 
 ส้มตำไม่เข้าใจว่าสิทธิ์อะไรเทียบเท่าสามี???
 
 ที่นี่กฎหมายมีคุ้มครองให้คู่สมรสมากนอ้ยตามสถานะการณ์..และเวลา
 
 คุณตอ้งบอกรายละเอียดว่าอะไรอย่างใหน???เพื่อนๆจะได้เข้ามาแชร์ความรู้กับคุณ...
 
 

ผ่านมา

ถ้าคุณฟ้า จดทะเบียนสมรสมาจากเมืองไทยแล้ว แล้วทางสวิสยอมให้เข้ามาอยู่ในประเทศสวิส ได้พาส บี หรือ ซี แล้ว ก็แสดงว่าทางสวิสให้การยอมรับในใบทะเบียนจากเมืองไทย เหมือนกับจดทะเบียนสวิส  
 
 ส่วนสิทธินั้น เราไม่ค่อยทราบนะ แต่เท่าที่ทราบ หากเกิดการหย่าร้าง ขึ้น เขาก็ดูแลคุณเหมือนๆกันไม่ว่าจะจดที่ไหน   ดูตามใบ บีหรือซีที่ถือ สมมุติว่า ถ้าคุณแต่งงานกับสามี ได้ 4 ปี แล้วหย่ากัน เขาก็จะเอาจำนวนเงินไม่ว่าจะเป็นเงินเกษียร หรือ เงินเก็บ ของ 4 ปีที่คุณอยู่กับเขามาคำนวนหารให้คุณตามจำนวนปีที่คุณอยู่กับเขา (ไม่ค่อยแน่ใจนะค่ะ ข้อมูลเรืองการหย่าร้าง อ่านๆจากหนังสือที่เคยเปิดที่สถานทูต)  

เขมรน้อย

เขมรน้อย แต่งที่เมืองไทย และสามีพยายามทุกวิถีทางที่จะให้เรามีสิทธิ์ที่เราควรจะมี ก่อนแต่ง เรามีเอกสารทุกอย่างทีพร้อมหมด รวมถึงเอกสารที่ยืนยันว่าเขามีอะไรหลาย ๆ อย่างพอที่จะเลี้ยงดูเราตลอดชีวิตได้ เราก็ทำใบทะเบียนคนต่างด้าวให้เขาอยู่ในทะเบียนบ้านเราอย่างผู้อาศัย พอเรามาที่นี่เขาก็พยายามที่จะให้เราได้พาสสวิส และทำทุกอย่างให้เรามีสิทธิ์ที่เราพึงมีอย่างหญิงไทยที่แต่งงานกับชาวสวิสทุกอย่าง รวมถึงการขอพาสสวิสให้เราด้วย ถ้าเราอย่า เรามีสิทธิ์ที่จะได้เงินบำนาญหรือบำเหน็จอย่างที่เราควรจะได้ แต่เราไม่ขอเอา กฏหมายของเขาจะดูด้วยว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องเท่าเทียมกัน (เขาให้เรามาพอแล้ว แม้ว่าอะไรหลาย ๆ อย่างเขาจะไม่ค่อยดี แต่เราก็ไม่เพอร์เฟค) เขาทำงานห้าสิบเปอร์เซ็นต์ (เพื่อจะได้มีเวลาดูแลลูกตอนเราทำงาน) เราทำงานเต็มร้อยแต่เงินเดือนเราพอ ๆ กัน ถ้าหย่าเราก็ทำทุกอย่างตามกฏหมายของเขา ตามที่เขากำหนด แต่จะไม่เอาอะไรจากเขาอีก นอกจากจะดูแลลูกด้วยกัน เขาเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดที่เราเคยมี แม่ว่าเราไม่ได้ใช้ชีวิตร่วมกันก็ตาม เราจะดูแลซึ่งกันและกันอย่างสุดความสามารถที่เราจะทำได้  

เขมรน้อย

ไม่ว่าคุณจะอยู่ด้วยกันกี่ปี เขาจะดูด้วยว่าคุณทำงานทั้งคู่หรือเปล่า ค่าใช้จ่ายของคุณ หรือสามีต่อเดือนมีเท่าหัก หักลบแล้ว เงินเหลือเท่าใหร่ ในกรณีที่คุณก็ทำงาน เงินเดือนที่ได้เท่ากัน หรือมากน้อยกว่ากันแค่ใหน รายจ่ายต่อเดือนเท่าใหร่ แล้วก็หารสองค่ะ แต่ถ้าคุณไม่ได้ทำงาน งานนี้สามีคุณจ่ายค่ะ อยู่กันมากี่ปี จ่ายเงินบำนาญไปเท่าไหร่ รายจ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ รายได้เท่าใหร่ บวก ลบ คูณ หาร คุณจะได้ต่อเดือนเท่าไหร่ ก็อยู่ที่รายได้และรายจ่าย(ที่จำเป็น) ต่อเดือนของสามีคุณค่ะ  แต่ เขาจะดูถึงสาเหตุการหย่าร้างด้วยน่ะค่ะ ว่าคุณหย่ากันด้วยเหตุผลใด พยานหลักฐาน ว่าใครผิด หรือใครถูก เคยมีมาแล้วที่สามีเมาหยำเป แต่ภรรยาเธอร้าย ทำร้ายร่างกายและจิตใจสามี โดยการด่าประจานอย่างรุนแรง ต่อหน้าเพื่อนบ้านทุกคน และตบตีสามีจนให้เลือด หลายครั้งด้วยค่ะ สามีตัดสินใจฟ้องหย่า ศาลรับฟ้อง ภรรยาอยู่ด้วยกันไม่ถึงสองปี แต่งไม่ถึงปี กลับประเทศตัวเปล่าค่ะ อีกกรณีหนึ่ง ภรรยาติดการพนันอย่างหนัก สามีตามใช้หนี้เกือบแสนแฟรงค์ สุดท้ายสามีตัดสินใจขอหย่า ศาลตัดสิน ไม่มีการแบ่งอะไรทั้งนั้น เพราะ สามีทำงาน เงินเดือน บวก ลบ คูณ หาร เงินที่ควรจะได้เท่ากับเงินที่เธอเสียไปกับการพนัน สุดท้าย กลับประเทศโดยสามี*้เงินธนาคารให้ค่าทำขวัญให้อีกหมื่นกว่าแฟรงค์ค่ะ เพราะฉะนั้น กฏหมายไม่ได้ตีตายตัวค่ะว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เขาจะดูเป็นกรณีไป หลายกรณีที่หญิงไทยเราถูกเอาเปรียบ แต่ถ้าเราระวังตัวเขาช่วยเราเต็มที่ก็มีมาหลายกรณีแล้ว เราต้องไม่หุนหันพลันแล่นค่ะ ต้องรอบคอบ เคยมีเพื่อนหญิงของเราที่นี่ ที่รัฐยึดลูกให้อยู่ในความดูแล เพราะเพื่อนบ้านหรือมีหลักฐานว่าทำร้ายจิตใจทารก หรือเด็ก และสามีใช้โอกาสนี้ฟ้องหย่าโดยแทบไม่ต้องเสียอะไรเลย มีเยอะมากค่ะตัวอย่างที่แสดง(อย่างไม่ได้ตั้งใจ) ให้เห็น ให้พวกเราใช้เป็นกรณีตัวอย่าง ถ้าถามว่าสิทธิ์ที่การแต่งงานในสวิสและในไทยต่างกันไหม?

เขมรน้อย

อยู่ที่ว่าคุณจดทะเบียนที่อำเภอในบ้านเราแล้ว ได้ทำเรื่องจดทะเบียนในสถานทูตสวิสด้วยหรือเปล่า ถ้าทำก็ไม่ต้องกลัวค่ะ แต่ถ้าไม่ได้ทำก็ควรจะทำให้เรียบร้อยค่ะ เพราะ
 1. ลูกที่เกิดจะได้สํญชาติสวิสด้วย
 2.ถ้าแต่งที่เมืองไทยเกินเจ็ดปี แล้วย้ายมาอยู่สวิสภายในหนึ่งปี สามารถทำเรื่องขอสวิสพาสได้ และใช้เวลาสองปีขึ้นไปจึงจะได้สวิสพาส (โดยทุกอย่างสามีคุณต้องเป็นคนเดินเรื่องให้)
 3.เรามีสิทธิ์ในทุก ๆ อย่างที่สามีมีภายในปีที่แต่งหรืออยู่ด้วยกันมา
 4.ถ้าหย่า เราก็มีสิทธ์ในสินสมรสตามที่เราพึงมีโดยที่ไม่มีใครมาเรียกร้องได้ ยกเว้นลูก ๆ ที่ยังไม่บัญลุนิติภาวะของสามีค่ะ แต่กฏหมายที่สวิสรับรองความตรงไปตรงมาค่ะถ้าเรามีหลักฐาน พยานที่เข้าข้างเราพอเพียง (รับรองไม่มีการฉ้อราษฏ์บังหลวง)  
 รายละเอียดปลีกย่อยมีเยอะมาก ที่เขมรน้อยบอกมาทั้งหมดเป็นแค่ประสบการณ์ของตัวเองและของเพื่อนๆ บางส่วนที่ประสบมา มีอีกมากค่ะ และคนที่รู้ดีที่สุดน่าจะเป็นป้าพอลของเราค่ะ รอเพื่อน ๆ มาให้คำแนะนำอีกค่ะจะได้มีหลาย ๆ ความเห็น ได้ความรู้อีกเยอะค่ะ

เขมรน้อย

ไม่ว่าคุณจะอยู่ด้วยกันกี่ปี เขาจะดูด้วยว่าคุณทำงานทั้งคู่หรือเปล่า ค่าใช้จ่ายของคุณ หรือสามีต่อเดือนมีเท่าหัก หักลบแล้ว เงินเหลือเท่าใหร่ ในกรณีที่คุณก็ทำงาน เงินเดือนที่ได้เท่ากัน หรือมากน้อยกว่ากันแค่ใหน รายจ่ายต่อเดือนเท่าใหร่ แล้วก็หารสองค่ะ แต่ถ้าคุณไม่ได้ทำงาน งานนี้สามีคุณจ่ายค่ะ อยู่กันมากี่ปี จ่ายเงินบำนาญไปเท่าไหร่ รายจ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ รายได้เท่าใหร่ บวก ลบ คูณ หาร คุณจะได้ต่อเดือนเท่าไหร่ ก็อยู่ที่รายได้และรายจ่าย(ที่จำเป็น) ต่อเดือนของสามีคุณค่ะ  แต่ เขาจะดูถึงสาเหตุการหย่าร้างด้วยน่ะค่ะ ว่าคุณหย่ากันด้วยเหตุผลใด พยานหลักฐาน ว่าใครผิด หรือใครถูก เคยมีมาแล้วที่สามีเมาหยำเป แต่ภรรยาเธอร้าย ทำร้ายร่างกายและจิตใจสามี โดยการด่าประจานอย่างรุนแรง ต่อหน้าเพื่อนบ้านทุกคน และตบตีสามีจนให้เลือด หลายครั้งด้วยค่ะ สามีตัดสินใจฟ้องหย่า ศาลรับฟ้อง ภรรยาอยู่ด้วยกันไม่ถึงสองปี แต่งไม่ถึงปี กลับประเทศตัวเปล่าค่ะ อีกกรณีหนึ่ง ภรรยาติดการพนันอย่างหนัก สามีตามใช้หนี้เกือบแสนแฟรงค์ สุดท้ายสามีตัดสินใจขอหย่า ศาลตัดสิน ไม่มีการแบ่งอะไรทั้งนั้น เพราะ สามีทำงาน เงินเดือน บวก ลบ คูณ หาร เงินที่ควรจะได้เท่ากับเงินที่เธอเสียไปกับการพนัน สุดท้าย กลับประเทศโดยสามี*้เงินธนาคารให้ค่าทำขวัญให้อีกหมื่นกว่าแฟรงค์ค่ะ เพราะฉะนั้น กฏหมายไม่ได้ตีตายตัวค่ะว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เขาจะดูเป็นกรณีไป หลายกรณีที่หญิงไทยเราถูกเอาเปรียบ แต่ถ้าเราระวังตัวเขาช่วยเราเต็มที่ก็มีมาหลายกรณีแล้ว เราต้องไม่หุนหันพลันแล่นค่ะ ต้องรอบคอบ เคยมีเพื่อนหญิงของเราที่นี่ ที่รัฐยึดลูกให้อยู่ในความดูแล เพราะเพื่อนบ้านหรือมีหลักฐานว่าทำร้ายจิตใจทารก หรือเด็ก และสามีใช้โอกาสนี้ฟ้องหย่าโดยแทบไม่ต้องเสียอะไรเลย มีเยอะมากค่ะตัวอย่างที่แสดง(อย่างไม่ได้ตั้งใจ) ให้เห็น ให้พวกเราใช้เป็นกรณีตัวอย่าง ถ้าถามว่าสิทธิ์ที่การแต่งงานในสวิสและในไทยต่างกันไหม?

เขมรน้อย

เอ๋าเกิดไรขึ้นหวาเหอ ๆ ขอภัยค่ะดันไปกดรีทรายเลยกลายเป็นอย่างนี้ ขอ ภัย ขออำภัยค่ะ

ฟ้า

สวัสดีคะพี่ส้มตำพี่เขมรนอ้ยและพี่พี่ทุกคนคะ
               ขอบคุณพี่เขมรน้อยมากคะที่ให้ความกระจ่างแจ้ง ฟ้าลืมเล่าให้พี่พี่ฟังว่าฟ้าแต่งงานที่เมืองไทยคะทำเรื่องแต่งที่สถาทูตที่บ้านเราคะและตอนนี้ฟ้าก็ได้พาสเบแล้วคะแต่ตอนนี้สามีฟ้าก็บอกว่าชื่อฟ้าอยู่ในสำเนาแล้วนะ ฟ้าก็ไปขอมีพาสเบที่อำเภอที่ฟ้าอยู่คะแค่10วันเขาก็ให้คะ แต่มีเพื่อนบางคนก็บอกทำไมไม่แต่งที่นี่อีกถ้าไม่แต่งที่นี้ก็เหมือนไม่ได้แต่ง ทั้ง ทั้ง ที่เพื่อน พวก กลุ่มนั้นเขาก็พึ่งมาอยู่คะ  แต่ฟ้าก็มีเพื่อนรุ่นพี่ที่อยู่ที่นี่ คนหนึ่งคะ พี่เขาอยู่มา 30 กว่าปีแล้วพี่เขาก็บอกว่าแต่งที่ไหนก็เหมือนกันคะ ที นี่ก็เลยทำให้ฟ้างง  พอดีฟ้าเปิดมาเจอเว็ปนี้ฟ้าหามานานมากก่วาจะเจอ ฟ้าแต่งได้4 เดือนแล้วคะแต่ ฟ้ามาอยู่ที่นี่ได้3 ปีแล้วคะพึ่งได้แต่ง ตอนนี้ฟ้า27 ปีคะ พี่ พี่ ทุกคนใจดีมากคะที่ช่วยตอบขอบคุณมากคะ
 คุยกันใหม่คะ
 ฟ้า

แจง




สวัสดีจ้าพี่ฟ้า (เรียกตามอายุนะคะ)
 
 แจงเห็นด้วยกับพี่เขมรน้อยค๊า แต่งที่ไหนก็เหมือนกัน  
 ยิ่งตอนนี้พี่ได้พาสบี แล้ว
 มีสิทธิ์ทำงานได้แล้วด้วยนะคะ
 
 รึถ้ายังไม่แน่ใจ ลองโทรไปถามที่สถานทูตไทย จะได้รับคำตอบที่แน่นอน ถ้าอยากสบายใจมากขึ้นอ่ะจ๊ะ
 
 ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ ว่างๆ แวะมาทักทาย คุยกันได้เสมอนะจ๊
 
 แจงอยู่เบิร์นค่ะ

ฟ้า

สวัสดีคะคุณแจงยินดีที่ได้รู้จักเช่นกันคะ  
            ฟ้าอยู่ที่ บาเชิล คะ ตอนนี้ก็เข้าใจมากเลยคะ ที่คุณเขรมนอ้ยแนะนำมา ตอนนี้ฟ้ามีเวลาว่างนั่งอยู่กับหน้าอินเทอรเน็ตคะ  
 ขอบคุณมากคะ
 ฟ้า

ต๋อย

สวัสดีจ้าคุณฟ้า ต๋อยก็อยู่ไม่ไกลจากบาเซิลเหมือนกันอยู่บาเซิลลั้น คุณฟ้าอยู่แถวไหนของบาเซิลเอ๋ย เผื่อเราได้จ๊ะเอ๋กัน  เพราะบาเซิลเมืองไม่ใหญ่และมีเพื่อนๆ คนไทยเยอะ ต๋อยก็เพิ่งแต่ง........จะเข้า 5 เดือนแล้ว แต่งที่สวิสนี่แหละค่ะ ฤกษ์แต่งวันที่ 12 สิงหาที่ผ่านมาค่ะ
 

pall

สวัสดีจ๊ะส้มตำ
 สวัสดีจ๊ะผ่านมา
 สวัสดีจ๊ะเขมรน้อย
 สวัสดีจ๊ะฟ้า
 
 อ่านแล้วได้ข้อมูลและความรู้จากเขมรน้อยมากเลย
 ข้อมูลที่เขมรน้อยเขียนบอกมา..และจากประสบการณ์ที่ได้รับ
 เป็นประโยชน์ต่อคนไทยอีกหลายคนที่อ่อนประสบการณ์
 ไม่รู้เรื่องและตัดสินใจผิดพลาดเนื่องจากฟังจากเพื่อน
 หรือไม่รู้ภาษาดีพอ
 ขอออกตัวนะจ๊ะป้ารู้เพียงคร่าวๆคนที่รู้จริงคือคนที่
 ได้รับหรือผ่านประสบการณ์มาแล้ว
 
 อย่างที่เขมรน้อยเขียนมาป้าเห็นด้วย...
 เห็นคนไทยหลายคนเสียเปรียบเพราะไม่รู้กฎหมายสวิส
 กฎหมายไม่ว่าประเทศไหนๆก็คล้ายๆกัน
 ไม่มีกฎอะไรตายตัวและ**ขึ้นอยู่กับทนาย**
 เรื่องทนายนี่สำคัญทีสุด.การหย่าร้างแต่ละคู่
 เราจะเห็นข้อแตกต่างกันและเห็นได้อย่างชัดเจน
 บางคนหย่าไม่มีปัญหาแต่บางคนใช้เวลาหลายปี
 กว่าแต่บางคนก็หย่าได้ไวไม่มีปัญหาอะไร
 ข้อมูลที่เขมรน้อยเขียนมาก็ละเอียดพอแล้ว
 และได้รับประโยชน์ข้อมูลมากมาย
 
 ป้าขอสรุปสั้นๆตามนะจ๊ะ
 
 **การสมรสกับชาวสวิส**
 
 จดทะเบียนสมรสจากเมืองไทย
 (ข้อมูลไปอ่านจากที่เขมรน้อยเขียนบอก)
 และจดทะเบียนสมรสที่ประเทศสวิตฯมีผลทางกฎหมายเท่ากัน
 **ความแตกต่างจะแตกต่างกันตรงที่
 จดทะเบียนสมรสที่ประเทสสวิตฯจะดูยุ่งยาก
 กว่าจดทะเบียนสมรสมาจากประเทศไทย
 ระบบการทำงานของที่นี่มีหลายขั้นตอน
 ในการยื่นคำร้องขอจะทะเบียนสมรส
 ซึ่งเป็นกฎระเบียบของที่นี่เพื่อป้องกัน
 และรักษาสิทธิของทั้งสองฝ่าย
 
 **สิทธิของการสมรสกับชาวสวิส**
 
 เราจะได้รับสิทธิ์อาศัยอยู่ที่ประเทศสวิตฯได้
 โดยเราจะได้ใบอนุญาตพำนักปีต่อปี
 ที่เราเรียกใบนี้ว่าใบอนุญาตB
 ซึ่งใบนี้ทำให้เราได้สิทธิในการทำงาน
 ตามกฎหมายของรัฐที่เราพักอาศัยอยู่
 
 
 หลังจาก5ปีเต็มเราก็มีสิทธิยื่นขอใบอนุญาต
 พำนักถาวรในการอาศัยอยู่ในประเทศสวิตฯ
 ซึ่งเราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศสวิตฯ
 ใบอนุญาตนี้เราเรียกว่า
 ใบอนุญาตพำนักถาวรประเภท C
 ใบอนุญาตแบบนี้ต้องต่ออายุทุก3หรือ5ปี
 แต่ถ้าเราถือใบอนุญาตประเภทนี้
 เราไม่มีสิทธิการออกเสียงคะแนน
 เลือกตั้งต่างๆเพราะเรายังถือสัญชาติไทยอยู่
 
 แต่ถ้าเราอยากได้สิทธิสมบูรณ์
 เราทำเรื่องยื่นคำร้องขอถือสัญชาติสวิสได้
 **เมื่อได้รับสัญชาติสวิสแล้ว
 เราก็ยังมีสิทธิรักษาสัญชาติไทยอยู่
 เรายังสามารถถือหนังสือเดินทางไทย(พาสปอร์ตไทย)
 ประเทศสวิตฯอนุญาตให้ถือหนังสือเดินทาง2ใบได้
 ที่เราเรียกว่า Doppelbuerger
 
 การทำเรื่องยื่นขอใบอนุญาตต่างๆ
 ต้องไปขอจากเขตที่พักอาศัย
 
 **สิทธิอื่นๆที่ได้รับ**
 
 เราสามารถยื่นคำร้องขอนำบุตร
 ติดตามเข้ามาอาศัยอยู่ที่นี่ได้
 อายุไม่เกิน18ปีบางเขตยินยอมให้ไม่เกิน16ปีเท่านั้น
 
 **การหย่า**
 
 คู่สมรสที่มีปัญหากันเขาจะให้แยกกันอยู่ก่อน
 เพื่อต้องการให้คู่สมรสพยายามไกล่เกลี่ยคืนดีหรือปรับความเข้าใจกัน
 หรือพยายามแก้ปัญหากัน
 การแยกกันอยู่ถือว่ายังไม่ขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน
 การแยกกันอยู่แบบนี้ต้องทำสัญญาแยกกันอยู่
 ให้ทนายทำหรือเราใช้ศูนย์บริการรับปรึกษาช่วยเหลือ
 เกี่ยวกับปัญหาครอบครัวซึ่งจะให้ความช่วยเหลือเราอยู่
 ในสัญญาจะระบุรายละเอียดต่างให้เรารับทราบ
 ซึ่งมีรายละเอียดหลายอย่างและสิทธิ การเลี้ยงดู
 ทรัพย์สินและหนี้สิน
 หรับคนที่ไม่เข้าใจภาษาต้องหาคนแปล
 
 **ระวัง**
 ถ้าเราไม่เข้าใจอะไรต้องถามให้ละเอียด
 และอย่าเซ็นชื่อถ้าไม่เข้าใจดีพอ
 การเซ็นชื่อเป็นการผูกมัดตัวเอง
 
 หลังจากกำหนดที่เขาให้แยกกันอยู่ครบกำหนดแล้ว
 ถึงจะทำเรื่องขอหย่า
 
 ยิ่งเขียนยิ่งยาวรายละเอียดมีมาก
 และกฎหมายการหย่าซับซ้อนวุ่นวายมาก
 ใครที่ผ่านประสบการณ์แบบนี้รู้ดี
 บางคนหย่าง่ายไม่มีปัญหาบางคนต้องแบ่งสมบัติ
 
 การแบ่งทรัพย์สินบางคนทำสัญญาแยกทรัพย์สินก่อนสมรส
 หรือหลังแต่งงานแบ่งแยกทรัพย์สิน
 
 แต่ถ้าไม่ทำสัญญาแบ่งแยกทรัพย์สินหรือสัญญาสมรส
 ก็จะแบ่งแยกทรัพย์สินเเบทั่วๆไปคือแบ่งทรัพย์สินส่วนตัว
 และสินสมรสวุ่นวายมาก
 
 แค่นี้พอแล้วยิ่งเขียนยิ่งพาเดินตกคลอง
 ฟ้าอย่าวิตกอะไรเลย
 อยู่ที่นี่เราได้รับสิทธิ,ความคุ้มครอง
 และได้รับผลประโยชน์อะไรหลายอย่างนะ
 
 
 
 
 
 
 

pall

เช่น
 1.เมื่อเราอายุมากครบกำหนดเราจะได้รับสวัสดิการผู้สูงอายุ
 คนแก่ทุกคนจะได้รับเงินสวัสดิการผู้สูงอายุที่เราเรียกว่าAHV
 แม่บ้านที่ไม่เคยทำงานนอกบ้านทำแต่ในบ้าน
 ก็มีสิทธิได้รับเงินจำนวนนี้เพราะสามีจ่ายเงินประกันคนแก่
 รวมกับของตัวเอง
 
 2.เงินสะสม (สำหรับคนทำงาน)
 เป็นเงินที่นายจ้างหักเงินสะสมฝากเข้ากองทุนบริษัท
 เป็นสวัสดิการจ่ายให้เราตอนแก่รวมกับเงินAHV
 แต่ถ้าทำส่วนตัวจะไม่ได้รับเงินส่วนนี้
 คนทำงานส่วนตัวจะทำเงินสะสมเก็บไว้
 แบบเงินประกันชีวิต(ออมทรัพย์)ในวงเงินที่ตัวเองต้องการ
 
 3.เงินทุพพลภาพ (IV)
 ถ้าเราทำงานไม่ได้เพราะร่างกายพิการ
 หรือไม่สมประกอบไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ
 เงินจำนวนนี้คนทำงานจ่ายประกันสังคมอยู่แล้ว
 จะได้รับความช่วยเหลือ
 แม่บ้านก็สามารถขอยื่นคำร้องขอความช่วยเหลือ
 รับเงินส่วนนี้ได้ถ้าได้รับใบรับรองแพทย์ว่าเป็นจริง
 และพิการกี่%ซึ่งเขามีกำหนดให้
 
 4.เงินแม่หม้าย
 ถ้าสามีเสียชีวิตเราได้รับเงินส่วนนี้
 
 5.ประกันว่างงานสำหรับคนทำงาน
 ซึ่งได้หักออกจากเงินเดือนทุกเดือน
 ทำประกันตอนเราตกงานจะได้รับความช่วยเหลือส่วนนี้
 
 6.สวัสดิการช่วยเหลือผู้ยากไร้
 สำหรับคนมีปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเป็นทางด้านครอบครัว
 หรือทางด้านการเงิน
 

pall

สวัสดีจ๊ะต๋อย  
 ป้านึกว่าต๋อยแต่งนานแล้วนะนี่  
 เห็นภาษาเก่งมากเลย  
 ป้าอยู่มานานยังไม่ค่อยกระดิกหูเลย  
 เอาไว้แวะไปบาเซิลจะไปล้มทับนะ