News:

ยินดีต้อนรับ สู่ Pall Swiss เว็บบอร์ดตัวใหม่

Main Menu

อยากถามเกี่ยวกับการรับน้องสาวมาเรียนในสวิส

Started by miko, July 08, 2005, 01:26:38 AM

Previous topic - Next topic

miko

ถามป้า และ ผู้รู้เกี่ยวกับการรับน้องสาวมาอยู่และเรียนใน สวิส ว่าต้องทํายังไงและ มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ใหน  และต้องมีหลักประกันอะไรบ้าง และต้องเริ่มต้น ตรงใหนอย่างไร ช่วยบอกหน่อยนะคะ น้องสาว อายุ 8 ขวบ คะ

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0796 ห้อง pallswiss (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

ตุ้ม

สวัสดีจ๊ะ Miko  น้องสาวเป็นน้องแท้ๆหรือเปล่าคะ  ถ้าเป็นก็ลองไปถามที่กองตรวจคนเข้าเมืองว่าจะเอาน้องมาอุปการะเพราะพ่อแม่มอบให้เราเป็นผู้ดูแลเนื่องจากไม่มีความสามารถ (อาทิเช่น อายุมากหรือยากจน ฯลฯ) จะต้องทำอย่างไรบ้างและใช้เอกสารอะไรบ้างในการขอวีซ่าถาวรมาอยู่กับเรา  หรือไม่ก็ขอน้องสาวมาเป็นลูกบุญธรรมเลยซิคะ  คนอื่นๆมีความคิดเห็นอย่างไรหรือเคยทำมาแล้วช่วยกรุณาออกความเห็นหน่อยค่ะ

พิราบสีชมพู

สวัสดีค่ะคุณตุ้มคุณมิโกะ เท่าทิ่ทราบมานะคะการรับญาติมาอยู่ทิ่สวิสนิ่ยุ่งยากน่าดูเลยค่ะ ถ้าคนทิ่เราจะรับมาอุปการะอายุต่ำกว่า20ปีคิดว่าต้องเดินเรื่องรับเป็นบุตรบุญธรรมค่ะ กฎหมายคุ้มครองเด็กทิ่นิ่เข้มมากนะคะ ถ้าคุณมิโกะมีหลักฐานพร้อมเรื่องเดินเรื่องให้เด็กเข้ามาคิดว่าเป็นปีค่ะกว่าจะรู้เรื่องเพราะเขาต้องตรวจสอบประวัติมากมายทั้งของคุณและทางเมืองไทยและยิ่งเด็กมีอายุเท่านั้นยิ่งนานเลยค่ะ ทางทิ่ดีนะคะ เดินเรื่องรับเป็นบุตรบุญธรรมและบอกเขาไปตามทิ่คุณตุ้มว่าค่ะ (อาทิเช่น อายุมากหรือยากจน ฯลฯ) ลองไปปรึกษาทาง อำเภอ.Gemeinde ทิ่คุณอยู่นะคะเขาจะมีข้อแนะนำทิ่กระจ่างมาก

miko

สวัสดีคะ คุณตุ้ม และคุณ พิราบขาว คือว่า เด็กเป็นลูกพี่สาวเป็นหลานของ มิโกะ เองละคะ แต่ตอนที่เค้าเกิดพี่สาว ไม่ต้องการเพราะว่าเค้าเลิกกับพ่อของเด็กแล้ว พ่อกับแม่ก็เลยไปโอนเอามาเป็นลูก และใช้นามสกุลเดียวกัน กับ มิโกะ และ มิโกะก็ทํางานส่งเสียเลี้ยงดูมาตั้งแต่เค้าได้ 3 เดือน ก็ส่งเสียมาตลอดทุกเดือน ที่อยากเอามาอยู่ด้วยก็เพราะว่า ตอนนี้พ่อกับแม่ก็แก่มากแล้ว และไม่ค่อยสบายต้องเข้าๆออกโรงพยาบาลเป็นว่าเล่น บางทีก็ต้องไปอยู่กรุงเทพเพื่อรอไปหาหมอตอนหมอนัด แม่ก็เลยอยากให้หลานมาอยู่กับ มิโกะเลยแกจะได้ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง คือทุกวันนี้เวลาแกไปหาหมอที่กรุงเทพก็ต้องจ้างคนมาอยู่เป็นเพื่อนหลานทํากับข้าวให้หลานกิน แกบอกแกไม่ค่อยสบายใจเลย ที่ต้องปล่อยหลานไว้กับคนที่จ้างมาดูแล และถ้าจะเอามาก็ไม่รู้จะได้หรือเปล่าเพราะว่ามิโกะกับแฟนก็อายุยังไม่เยอะเงินเก็บก็ยังไม่มี เดือนๆหนึ่งก็แค่มีพอกินพอใช้ แต่ไม่มีหนี้นะคะ ไม่รู้ว่าทางอําเภอ

ตุ้ม

ถ้ามิโกะพิสูจน์ได้ว่าส่งเงินไปช่วยเหลือทุกเดือนและพ่อแม่อายุแก่แล้วจะทำเรื่องได้ง่ายขึ้นค่ะ  ไม่ต้องบอกเค้าหรอกว่าเป็นลุกของพี่สาว  เป็นเรื่องส่วนตัวของครอบครัวเรา  เอาใจช่วยค่ะ

เกตุ

แล้วตอนแจ้งเกิดเป็นชื่อพี่สาวป่าวค่ะพี่มิโกะ แล้วค่อยมาโอนให้พ่อกับแม่อีกทีหรือเปล่า คือในใบแจ้งเกิดเป็นชื่อพี่สาวเป็นแม่อะไรเงี้ยอ่ะค่ะ เกตุว่าถ้าอย่างนั้นก็คงต้องบอกเขานะคะป้าตุ้ม เพราะตอนเกตุมาแต่งงานก็ต้องใช้ใบรับรองบุญธรรมเหมือนกัน ทั้งๆที่เอกสารอย่างอื่นนามสกุลน้าหมดเลย มีใบเกิดอย่างเดียวที่ใช้นามสกุลยาย เขาก็ถามหาทันทีเลยค่ะ แต่อาจจะไม่เหมือนกันก็ได้เน่อะเกตุแค่เล่าให้ฟัง  
 
 ถ้าไม่มีหนี้คงไม่มีปัญหามั้งพี่มิโกะ เคยคุยกับตาอ้วนว่าทำไมเขาไม่มีเงินค้ำประกันถึงทำวีซ่าให้เกตุมาได้ เขาบอกถ้าไม่มีหนี้ก็ไม่มีปัญหาหมายถึงหนี้ที่ติดแบล็คลิตส์นะคะ แต่ถ้าใครมีหนี้ติดแบล็คลิสต์ถึงจะมีเงินค้ำเขาก็ไม่ให้ค่ะ คนละเรื่องอีกอันนี้วีซ่าท่องเที่ยวฮ่าๆๆ ไม่ได้ช่วยเลยนะพี่มิโกะ เอาใจช่วยนะคะ เกตุเห็นด้วยค่ะยกมือสนับสนุนเต็มที่

miko

สวัสดีคะ คุณตุ้ม และ น้องเกตุ คือ มิโกะ มีใบส่งเงินทุกเดือนคะ เก็บไว้ตลอดเลยเป็นปึกเลย ...ใช่จ๊ะ น้องเกตุตอนแจ้งเกิดเป็นชื่อพี่สาวกับแฟนเค้าตอนหลัง พ่อกับแม่พี่เลยทําเรื่องโอนเอามาเป็นลูก เห็นแม่บอกว่าในใบเกิดเค้าลบชื่อพ่อกับแม่ตัวจริง เค้าออกแล้ว ตอนนี้มีแต่ชื่อ พ่อกับแม่เท่านั้น  ไม่รู้จะต้องทําอย่างไร ปีหน้าว่าจะไปรับมาไม่รู้จะมีปัญหาอะไรหรือเปล่าก็ไม่รู้ ต้องให้แฟนไปถามอําเภอลองดู ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงใหนถ้าโอนมาเป็นลูกบุญธรรม กลุ้มใจจริงๆเลย นอนไม่หลับมาหลายวันแล้ว คิดมาก

เกตุ

ลองเริ่มตรงนี้ก่อนดีมั๊ยค่ะพี่มิโกะ ถ้าชื่อในใบเกิดเป็นพ่อกับแม่พี่มิโกะเกตุว่าก็คงไม่ยากแล้วล่ะมั้ง เกตุว่าเริ่มแรกพี่มิโกะกับแฟนคงต้องกลับไปจดทะเบียนรับลูกของพี่สาวมาเป็นบุตรบุญธรรมก่อนดีกว่ามั๊ยค่ะ แล้วค่อยเริ่มเดินเรื่องเอาเขามา เกตุคิดว่าอย่างนี้มันจะง่ายกว่า แต่ก็คงไม่ยากเกินความสามารถหรอกค่ะพี่มิโกะ เอาใจช่วยนะคะเกตุไม่รู้เรื่องพวกนี้อ่ะค่ะ

miko

ขอบใจมากนะจ๊ะ น้องเกตุ ที่ให้กําลังใจ ยังงั้นปีหน้าพี่กับแฟนก็ต้องกลับไปเมืองไทยทําเรื่องจดทเบียนรับลูกพี่สาวเป็นบุตรบุญธรรมก่อน แล้วค่อยมาเดินเรื่องต่อที่สวิสใช่เปล่า? แล้วถ้าจะไปจดทะเบียนรับรองบุตรต้องไปจดที่อําเภอที่ใหน? ต้องไปจดที่บ้านนอกพี่ หรือว่าจะจดรับรองบุตรที่กรุงเทพได้หรือเปล่า? ถ้าน้องเกตุพอจะรู้ช่วยตอบหน่อยนะจ๊ะ ถ้าไม่รู้ก็ไม่เป็นไร ตอนนี้ก็เริ่มกระจ่างนิดหน่อยแล้วว่าต้องเริ่มต้นตรงใหน ขอบใจมากนะจ๊ะ

แจง

พี่มิโกะ แจงไปรื้อหาเอกสาร จาก สถานทูตไทย เรื่อง บุตรบุญธรรม  
 
 คิดว่า คงพอ มี ประโยชน์  
 
 และเป็นแนวทาง และได้รู้จัก เรื่องนี้ดีขึ้น แจงขอพิมพ์ ให้อ่านกันนะจ๊ะ
 
 
 บุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ แห่ง สมาพันธ์รัฐสวิส ได้กำหนดไว้ ใน มาตรา 264-269 C  
 
 การรับบุตรบุญธรรมนั้นจะมีผลตามมา คือ บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียว กับบุตร ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น
 
 -   บิดา มารดา มีหน้าที่อบรมเลี้ยงดูบุตร ตามที่กฎหมายกำหนด และเป็นทายาทโดย ชอบธรรม มีสิทธิ์ ตามกฎหมาย มรดก ที่กำหนดไว้
 
 -  บุตรบุญธรรมใช้ นามสกุล ของผู้ที่ ทำ เรื่อง ยื่น ขอรับ บุตร บุญธรรม และ สามารถ ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนชื่อต้นได้
 
 -  ถ้าบุตรบุญธรรม ยังไม่ บรรลุ นิติ ภาวะ ( unmuendig )  อายุไม่เกิน 18 ปี  จะได้รับสัญชาติ ของผู้ที่ยื่นขอรับบุตรบุญธรรม   ( Buergerrecht)   เช่น ในกรณีที่บิดา หรือมารดา ถือสัญชาติสวิส บุตรบุญธรรมก็จะได้รับ สัญชาติสวิส
 
 -  ความสัมพันธ์ ( Kindsverhaeltnis) ระหว่างบิดา มารดา ผู้ให้กำเนิด   (leibliche Eltem)  จะสิ้นสุดลง คือ หมด อำนาจ การปกครองนับแต่วันเวลา ที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรม
 
 -  การรับบุตรบุญธรรมจะ " ยกเลิกเพิกถอนไม่ได้ "   (unwiderruflich)
 
 
 
 (ต่อ)

แจง

 
       การรับบุตรบุญธรรม ในประเทศสวิตฯ นั้น กฎหมายได้กำหนดคุณสมบัติ ของผู้ยื่นขอรับบุตรบุญธรรม ในกรณี ที่บุตรบุญธรรม ยังไม่บรรลุนิติภาวะ การรับผู้เยาว์ เป็นบุตรบุญธรรมจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ
 
 -   ผู้เยาว์จะต้องอยู่ในความรับผิดชอบดูแล และพักอาศัยอยู่กับผู้ยื่นขอรับบุตรบุญธรรมอย่างน้อยที่สุด  1  ปี
 
 -   ผู้ที่จะขอรับบุตรบุญธรรมหรือคู่สมรสจะต้องแต่งงาน กันมาแล้วอย่างน้อยที่สุด  5   ปี หรือ ต้องมีอายุอย่างไม่น้อยกว่า 35 ปี
 
 
 -   การรับบุตรของคู่สมรสเป็นบุตรบุญธรรม (Stiefkindadoption)  จะต้องจดทะเบียนสมรสครบ 5 ปี  
 
 -  ผู้ยื่นขอรับบุตรบุญธรรม กับ บุตรบุญธรรม ต้องมี อายุต่างกัน อย่างน้อยที่สุด 16 ปี
 
 -  ผู้ ที่จดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้น จึงจะยื่นเรื่องขอรับบุตรบุญธรรมได้ และต้องได้รับความยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย และการยื่นขอรับบุตรเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ได้ก็ต่อเมื่อผู้ให้กำเนิด คือ บิดา หรือมารดา จดทะเบียนสมรสกับผู้ที่ยื่นขอรับบุตรบุญธรรม
 
 
 
 
            การดำเนินยื่นเรื่องขอรับบุตรบุญธรรมนั้นต้องยื่นเรื่อง เป็นลายลักษณ์อักษร และต้องแจ้งเหตุผล ที่ขอรับ บุตรบุญธรรมด้วย
 
 การขอรับบุตรบุญธรรที่ผู้เยาว์มีสัญชาติสวิส หรือผู้เยาว์เป็น คนต่างชาติ มีขั้นตอน แตกต่างกัน และเอกสารที่ต้องยื่นก็เช่นกัน จะต้องจัดหาตามที่เจ้าหน้าที่ของแต่ ละรัฐเรียกขอมา  เช่น รัฐเบิร์นต้องยื่นคำร้องต่อกระทรวงยุติธรรม  Justiz-, Gemeinde und Kirchendirektion (JKG)  
 
 เอกสารดังกล่าวต้องเป็นต้นฉบับ หรือ เป็นสำเนา ที่ได้รับการรับรองเป็นทางการ และต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน  ส่วนเอกสาร แสดงเจตนา ให้ความยินยอม จากบิดามารดาผู้ให้กำเนิด มีอายุเกิน 6 เดือน ได้ เอกสาร ที่เป็นภาษาอื่น ที่มิใช่ภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส  และ อังกฤษ ต้องแปลและรับรองความถูกต้อง
 
 
          การยื่นเรื่องขอรับบุตรบุญธรรมเป็นลายลักษณ์อักษรต้องรับทราบและปฎิบัติตาม ขั้นตอนดังนี้
 
 
 -     ผู้ยื่นขอรับบุตรบุญธรรมรับรอง ว่า รับรู้ กฎหมาย และ ผล ที่จะเกิดตามมา   ( Wirkungen der Adoption)
 
 -      แจ้งเหตุผลการขอรับบุตรบุญธรรม
 
 
 
 -    บอกระยะเวลา ที่อยู่อาศัยกับผู้เยาว์ อธิบาย วิถีชีวิต ความเป็นยอู่ ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่อยู่ร่วมกัน แจ้งอาชีพการทำงาน และรายได้ของผู้ยื่นขอรับบุตรบุญธรรม
 
 
 
 
 
 เดี๋ยวไปหามาต่อนะจ๊ะ
 
 
 หวังว่าคงเป็นประโยชน์ นะคะ
 
 
 
 
 

เกตุ

ต้องไปจดตามชื่อในทะเบียนบ้านค่ะพี่มิโกะ ตอนน้ารับเกตุเป็นบุตรบุญธรรมก็ไปจดที่อำเภอ ไม่ยากหรอกค่ะพี่มิโกะไปทำไม่ถึงสามสิบนาทีก็เสร็จแล้ว เตรียมทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน แต่ติดตรงที่ว่าแฟนพี่มิโกะเป็นต่างชาติเนี่ยเกตุไม่รู้ว่าเขาต้องใช้เอกสารอะไรหรือเปล่า แล้วเขาต้องมีคนแปลให้เขาฟังด้วยหรือเปล่าอันนี้ไม่รู้เหมือนกันนะคะ ต้องถามที่สถานทูตไทยอีกทีนะคะพี่มิโกะ ตอนไปทำก็ไปกันทั้งพ่อแม่พี่มิโกะด้วยนะคะ แล้วก็จะมีพยานด้วย ถ้ามีผู้ใหญ่บ้านไปด้วยก็ดี ตอนเกตุไปทำเขาจะให้เอาผู้ใหญ่บ้านมาด้วย แต่ว่าตามตัวไม่เจอก็เลยไม่เป็นไรพอดีอำเภอไกลปืนเที่ยงรู้จักกันด้วยเอิ้กๆๆ เอาใจช่วยเต็มที่ค่ะ

แจง

 
 -         การรับผุ้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมนั้น บุตรบุญธรรมทุกคน มีสิทธิที่จะรู้ประวัติของตนเอง  มีสิทธิรับรู้ว่าพ่อแม่ ของตนคือใคร  
 
 และรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขอรับเป็นบุตรบุญธรรม ดังนั้นศาลสูงสมาพันธรัฐสวิส จึงกำหนดไว้ว่า จะต้องอธิบายให้ผู้เยาว์ที่มีอายุระหว่าง 4 - 10 ปี ได้รับรู้  
 
 เมื่อ มีการเดินเรื่องรับบุตรบุญธรรม ในคำร้อง ที่เขียนยื่นขอรับบุตรบุญธรรมจะต้องชี้แจงรายละเอียดเรื่อง กำหนดเวลาและเหตุผลที่ต้องการรับเป็นบุตรบุญธรรม
 
 ผู้เยาว์มีปฎิกริยาโต้ตอนเช่นไร บ้าง   และ เมื่อมี ผู้ใดมีความเห็นว่าการรับบุตรบุญธรรมนี้จะนำมาซึ่งผลเสียต่อเด็ก และเป็นภัยต่อเด็ก ต้องชี้แจงเหตุผล
 
 
 -           ผู้เยาว์ซึ่งจะเป็นบุตรบุญธรรมต้องแสดงเจตจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยลายมือของตนยินยอมเป็นบุตรบุญธรรม   ในกรณีที่ผู้เยาว์อายุครบ  12 ปีเต็ม หรือ อายุมากกว่า 12 ปี ขึ้นไป
 
 
 -            บุตรของผู้ที่ขอรับบุตรบุญธรรมแสดงความคิดเห็น และยินยอมการขอรับบุตรบุญธรรมเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อมีอายุครบ 14 ปีบริบูรณ์
 
 -             ยื่นเรื่องคำร้องขอเปลี่ยนชื่อต้น   ในกรณีที่บุตรบุญธรรม ควรจะเปลี่ยนชื่อต้น หรือในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวอักษรที่ใช้เขียนชื่อ
 
 
 
 
               คำร้องดังกล่าวยื่นพร้อมลงลายมือชื่อ ของบิดา และมารดา ที่ต้องการขอรับบุตรบุญธรรม และยื่นได้ที่  Kantonales jugendamt  ของรัฐ ที่ผุ้ขอรับบุตรบุญธรรมอยู่อาศัย เช่นที่รัฐเบิร์น ยื่นได้ที่
 
 Kantonales Jugendamt Bern
 z.H. Justiz-,   Gemeinde  und Kirchendirektion
 Gerechtigkeitsgasse 81, 3011  Bern
 
 
 
 ในกรณีที่ยื่นคำร้องขอรับเด็ก ในความอุปการะดูแล  หรือ ลูกเลี้ยง ( Pflege oder Stiefkind)   เป็นบุตรบุญธรรมนั้นจะต้องยื่นเอกสารแตกต่างออกไป
 
 
 

แจง

 
      เอกสารต่างๆ ที่ผู้ขอจดทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรมต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่   ดังนี้
 
 
 -             เอกสารทั้งหมดต้องเป็นต้นฉบับตัวจริง และต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันออกเอกสาร
 
 
 -        หนังสือแสดงภูมิลำเนา  ( Familienschein)    ซึ่งชาวสวิสจะขอได้ที่อำเภอที่ตนมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ (Zivilstandsamt der  Heimatgemeinde)
 
 
 -       ใบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ (Wohnsitzbescheinigung)   ขอได้จากกองทะเบียนราษฎร์   (Einwohnerkontroller der Wohnsitzgemeinde)  
 
 
 -          หลักฐานที่แสดงว่า คู่สมรสของฝ่ายที่ยื่นขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม คือบิดา หรือมารดา โดยกำเนิดมีสิทธิในการปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว กรณี ที่มีบันทึกการหย่าระบุเรื่องสิทธิการปกครองบุตร ต้องยื่นหนังสือสำคัญดังกล่าวแนบมาด้วย
 
 
 -            เมื่อดำเนินเรื่องขอ เปลี่ยนชื่อสกุล เรียบร้อยแล้ว ต้องยื่นเอกสารเปลี่ยนชื่อสกุลแนบมาพร้อม  ( Namensaenderungsurkunde)
 
 
 
 กรณี บุตรบุญธรรม ในอนาคตเป็นคนต่างด้าว
 
 
 -          เอกสารทั้งหมดของประเทศนั้นๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิ ในการปกครองบุตร  
 
 
 -        สูติบัตรของเด็ก และต้องเป็นต้นฉบับตัวจริง
 
 
 -  หนังสือเดินทาง หรือบัตรประชาชนตัวจริง
 
 
 
 ---จบ----
 
 
 
 เอ่อ ขนาดพิมพ์เองก็ยัง งง  ถ้าพี่มิโกะ อยากรู้รายละเอียด โทรไปถาม พี่ ผุสดี เจ้าหน้าที่ กลุ่ม หญิงไทยเพื่อหญิงไทย  เลยนะคะ
 
 แกรอให้ความช่วยเหลืออยุ่เสมอ 079 649 34 32

miko

หวัดดีจ๊ะ น้องแจง น้อง เกตุ โอ้โห...ข้อมูลเพียบเลย อ่านแล้วกระจ่างมากเลย วันที่ 25 ที่จะถึงนี้ พี่ กับแฟนหยุดงาน 1 อาทิตย์ แฟนว่าจะพาไปสถานทูต บาเชิล ไปถามเกี่ยวกับขั้นตอน และเอกสารว่าต้องมีอะไรยังไง ไม่รู้จะผ่านหรือเปล่าก็ไม่รู้ พี่กับแฟน อายุยังไม่ถึง 35 ด้วยกันทั้งคู่เลย แต่ยังไงก็จะลองดู กว่าจะว่านล้อมแฟนให้ยอมรับเรื่องนี้ได้เสียนําตาไปตั้งหลายปี้บแนะ ขอบใจ น้องแจง และน้องเกตุมากนะจ๊ะ