มีเรื่องอยากสอบถามนิดหน่อย เรื่องการโอนเงินและฝากเงิน

Started by เจนนี่, October 01, 2005, 04:02:13 AM

Previous topic - Next topic

เจนนี่

หวัดดีค่ะป้าพอลและทุกๆคน
 คือว่าอยากเปิดบัญชีเงินฝากที่เมืองไทย แต่ทีนี้ ให้คนอื่นเปิดให้ได้มั้ยค่ะ
 เอาแบงค์ไหนดี
 แล้วเราจะโอนเงินจากสวิตฯเนี่ย จะโอนไปด้วยวิธีไหนประหยัดสุดและปลอดภัย
 
 ขอคำแนะนำด้วยนะคะ  
 ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมหรือนอกเหนือจากนี้ก็เชิญแนะนำได้นะคะ
 จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งเลยค่ะ
 

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0885 ห้อง pallswiss (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

pall

สวัสดีจ๊ะเจนนี่
 เรื่องการเปิดบัญชีที่เมืองไทยป้าไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย
 ป้าเปิดในนามของแม่และส่งเข้าไปในบัญชีนี้
 เพราะแม่คือแม่ที่เราไว้ใจได้
 ป้าเห็นบางคนเขาเปิดบัญชีตอนไปเมืองไทย
 และพอมาอยู่ที่นี่ก็ส่งเงินเข้าไปในบัญชีที่เปิดไว้
 
 รอให้คนอื่นมาเขียนบอกดีกว่าสำหรับข้อมูล
 การเปิดบัญชีแบบนี้..ยอมรับว่าไม่มีความรู้เลย
 
 แต่เรื่องการส่งเงินนี้ขอเขียนตามที่ตัวเองทำนะ
 ป้าส่งเงินไปทางเมืองไทยโดยส่งผ่านทางNet
 การส่งเงินแบบนี้ค่าส่งถูกมากและคนรับปลายทางได้รับเงินไว
 
 ***เราต้องทำเองนะอย่าไปทำที่เค๊าเตอร์เขาคิดค่าทำแพงมาก
 ป้าไปถามเขตที่ป้าอยู่เขาคิด30ฟรังก์...ทำเองส่งทางNet
 เสียค่าทำแค่5สวิสฟรังก์***
 
 ในธนาคารหรือข้างๆธนาคาร
 เขาจะมีตู้...เป็นคอมพิวเตอร์
 สำหรับกดเงิน...จ่ายเงิน...ส่งเงิน
 และกดกระดาษที่เราส่งเงินไปเอามา
 สำหรับยืนยันการส่งเงิน
 
 ป้าเป็นลูกค้าของธนาคาร UBS
 ป้าก็ทำแบบนี้เอาการ์ดของธนาคาร
 ไปกดการส่งเงิน
 
 **เราต้องมีชื่อคนรับปลายทาง
 บัญชีหมายเลขของคนปลายทาง
 ที่อยู่ของธนาคาร...
 แค่นี้ก็ส่งได้แล้ว
 ค่าส่งแบบนี้ประมาณ  5 สวิสฟรังก์เท่านั้น
 บางครั้งป้าแปลกใจมากส่งแค่วันเดียว
 คนปลายทางได้รับเงินแล้ว
 
 **การส่งเงินผ่านทางNetบางธนาคารเสียค่าส่งแค่4สวิสฟรังก์**
 
 เจนนี่ลองไปถามธนาคารที่เจนนี่เป็นสมาชิก
 และถามเขาถึงการส่งเงินทางNet
 โดยผ่านจากบัญชีของเจนนี่ที่เปิดไว้ที่สวิตฯ
 ผ่านไปยังเมืองไทย
 ให้เขาช่วยรับรองเขายินดีช่วยแน่ๆจ๊ะ
 

เจนนี่

หวัดดีค่ะป้าพอล
 
 ขอบคุณมากนะคะสำหรับคำแนะนำ
 หนูมีแค่ปัญชีที่ post bank เท่านั้นค่ะ
 เห็นบางคนบอกส่งผ่าน post bank มันแพง
 เคยส่งนะคะ ผ่าน post bank คิดว่าคล้ายๆกับการส่งธณานัต
 ใช้เวลานานหน่อยกว่าคนทางเมืองไทยจะได้รับ
 เสียค่าธรรมเนียม 12 ฟรังต่อครั้งนะคะ ถ้าจำไม่ผิด
 
 บางคนก็บอกว่าให้ไปเปิดบัญชีกับธนาคารอื่น เช่น ubs,Kantonal Bank แล้วโอนเงินผ่านบัญชีที่เรามีตรงนี้
 อันนี้ไม่รู้ว่าใครทำแบบนี้มั่ง
 พอจะมีคำแนะนำดีๆบ้างมั้ยค่ะ
 
 รอคนต่อไปมาตอบละกัน
 
 

บอมย์

สวัสดีค่ะ ป้าพอล เจนนี่  
 
 บอมย์ก็ส่งผ่านแบงค์นะคะ ของบอมย์เปิดบัญชีที่แบงค์กรุงเทพที่เมืองไทยค่ะ ต้องขอสลิปโคดธนาคารมาด้วยนะคะ ถึงจะส่งได้  
 
 แฟนบอมย์ก็ใช้บัญชี UBS เหมือนกัน ธนาคารเขาทำใบสำหรับโอนต่างประเทศให้แฟนโดยตรง โดยการตัดบัญชี เราก็เขียนรายละเอียดการโอนในใบที่เขาให้มา แล้วก็ยื่นที่ธนาคาร วิธีตัดบัญชี เสียค่าบริการ ประมาณ 5-6 ฟรังค์อันนี้จำไม่ได้ค่ะ แต่ถ้าไปโอนที่หน้าเคาว์เตอร์โดยไม่ใช้วิธีแบบบอมย์หรือป้า ก็ 12 ฟรังค์ อย่างที่ป้าบอกค่ะ  
 
 ต้องลองไปติดต่อที่ธนาคารดูนะคะ เขาจะบอกรายละเอียดกับเราค่ะ อีกอย่างถึงไวนะคะ วันเดียวก็ได้รับจริงๆๆ ค่ะ
 
 

ต๋อย

สวัสดีค่ะป้าพอล พี่บอมย์ และน้องเจนนี่
 สำหรับต๋อย ให้น้องชายเปิดบัญชี ธ. กรุงเทพ ที่บ้านต่างจังหวัด
 แฟนเป็นคนส่งให้ทางอินเตอร์ ทำที่บ้าน( ธ. อูบีเอส) โดยกรอกแบบฟอร์ม ในนั้น คือ ชือคนรับ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น
 ใช้เวลาประมาณ 3 วัน ทางเมืองไทยได้รับ เสียค่าบริการครั้งละ 20 ฟรังค์
 ทำไมมันแพงกว่าของป้าพอล หรือของพี่บอมย์ง่ะ แปลกใจจัง
 ต้องไปที่เคาเตอร์ หรือโอนที่  ธนาคารโดยตรงใช่ไหมคะ ถึงจะถูก
 แบบว่าไม่ทราบน่ะค่ะ (ขอถามอีกคนไม่ว่ากันนะคะ)

pall

สวัสดีจ๊ะต๋อย
 ถ้าต๋อยไปให้พนักงานที่ทำงานในธนาคาร
 ทำการส่งเงินไปให้ทางเมืองไทย
 ค่าส่งจะแพงมากเลยและแพงกว่าธนาคารอื่น
 ตอนแรกๆป้าให้พนักงานของธนาคารValiant Bank
 ทำการส่งเงินไปให้ทางเมืองไทย
 ค่าโอนผ่านธนาคารเสียแค่8ฟรังก์
 และถ้าเรามีValiant -Net
 เสียค่าส่งแค่4ฟรังก์เอง
 เราสามารถโอนผ่านเน็ท ที่บ้านเราได้ไม่ต้องไปธนาคาร
 
 ป้ามีเงินในValiant -Net...มีไม่มาก
 เลยต้องไปทำการโอนเงินผ่านธนาคาร
 จากตู้ที่ทางธนาคารจัดให้
 เราต้องทำการโอนเงินด้วยตัวเอง
 ไม่ได้ให้พนักงานทำให้
 ค่าส่งจะถูกมากแค่5ฟรังก์
 ถ้าต๋อยมีNet Bank
 ส่งเงินจากบ้านก็ได้
 
 

kookkai

***แม่ทูนหัวจะโอนตังมาให้จาก USA ค่ะ ให้เลขที่บัญชี ชื่อบัญชื่อ ชื่อธนาคาร และ Swift โค้ด แล้วยังโฮนมาไม่ได้ค่ะ. . ธนาคารถามหา อิริยาโค้ด. . คืออะไรค่ะ


Api

The International Bank Account Number (IBAN) is an international standard for identifying bank accounts across national borders. It was originally adopted by the European Committee for Banking Standards, and was later adopted as ISO 13616:1997 and now as ISO 13616:2007. The official IBAN registrar under ISO 13616:2003 is SWIFT and the IBAN registry is currently at SWIFT.

The IBAN was originally developed to facilitate payments within the European Union but the format is flexible enough to be applied globally. Customers, especially individuals and SMEs, are frequently confused by differing national standards for bank account numbers. IBAN imposes a flexible but regular format for account identification and contains validation information to avoid errors of transcription.

The IBAN's primary purpose is therefore to facilitate routing and avoid routing errors.

The IBAN consists of a ISO 3166-1 alpha-2 country code, followed by two check digits (represented by kk in the examples below), and up to thirty alphanumeric characters for the domestic bank account number, called the BBAN (Basic Bank Account Number). It is up to each country's national banking community to decide on the length of the BBAN for accounts in that country, but its length must be fixed for any given country.

The IBAN must not contain spaces when stored electronically. When printed on paper, however, the norm is to express it in groups of four characters, the last group being of variable length.


the sun

สวัสดีค่ะ ป้าพอล และทุกๆ ท่านที่อยู่ในห้องกระทู้นี้ ตะวันเพิ่งเป็นสมาชิกใหม่ แต่สมัครเป็นสมาชิกมาได้ซักพักแล้วหล่ะ แต่เพิ่งได้มีโอกาสเข้ามากระทู้นี้เอง ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคะ ตะวันแต่งงานกะหนุ่มสวิสค่ะ ตะวันเพิ่งมาอยู่สวิสได้ 4 เดือนกว่าค่ะ น้องใหม่นะคะ
      ตะวันมีปัญหาเรื่องการโอนเงินเหมือนกันค่ะ ไม่รู้เป็นปัญหาเฉพาะของตะวันหรือเปล่า ไม่เข้าใจ คือว่า สมัยอยู่ไทย แฟนส่งให้รอบแรกผ่าน post bank (สมชื่อจริงๆ postได้ข่าวว่าเป็นเคลือเดียวกันกะไปรษณีย์ค่ะ) นานมักๆ กว่าจะได้รับเป็นเดือนนะคะ เงินไม่ถึงไทยเลย  แฟนเลยไปเช็คที่ postดู สรุปว่า การส่งเงินผ่านธนานัต เหมือนเจนนีว่าเลยค่ะ สรุปเงินหายค่ะป้าพอล  เจ้าหน้าที่บอกว่าขอโทษ เขาส่งไปแบบไปรษณีย์ เลยมีข้อผิดพลาด แต่ขอส่งใหม่ให้อีกรอบ แต่จะขอเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่ม 12ฟังค์  รวมกะครั้งแรก เป็น 24 แล้ว แฟนตะวันไม่ยอมเด็ดขาด เพราะไม่ใช่ความผิดลูกค้า เขาเลยยอมทำตาม ต่อมาแค่ 5วัน ตะวันก้อได้รับเงินที่เมืองไทย ธนาคารโทรไปแจ้งว่าเงินเข้ามาแล้ว. . เงินช้าเพราะชื่อผิด ตะวันเปลียนชื่อนามสกุลตามสามีแล้ว แฟนดันไปส่งชื่อเดิม แต่ปกติธนาคารจะโทรเข้าไปสาขาเช็คว่าบุคลลๆนี้มีตัวตนจริงไหม หากชื่อสกุลผิดแต่เลขที่บัญชีถูกต้อง แต่เงินไม่ถึงธนาคารไทยเลยไม่ได้โทร    เสร็จไม่จบนะป้าพอล แฟนตะวันส่งเงินให้ตะวันอีกรอบสอง ธนาคารเดิม post bank (ไปรษณีย์) เหมือนเดิมกะที่รอบแรกทำ แต่คราวนี้เงินไม่หาย แต่ว่าเงินไม่ถึงไทยอีก ไปไหนไม่รู้ ตะวันไปเช็คตามที่ธนาคารไทยพาณิชย์ฝั่งไทยเขาว่าเงินไม่เข้ามาในระบบเลย ไม่มีเงินแม้แต่บาทเดียวเข้าบัญชี และ 1 เดือนผ่านไป ผิดวิสัยการโอนเงินอะไรนักหนา แฟนเลยไปเช็คอีกรอบ เจ้าหน้าที่โว้ยวายใส่แฟนตะวัน ว่าเป็นอะไรกะลูกค้าคนนี้สองรอบสองคาด้วยกัน เจ้าหน้าทีตรวจสอบให้ทางระบบ แจ้งแฟนตะวันว่า เงินไปแล้ว ทางไทยดึงเงินไว้แล้ว (แต่ไทยบอกว่าไม่ได้ดึง เพราะเงินไม่มีให้ดึง)แต่พอหาไปหามา เงินตีกลับ สรุปว่าเงินโอนผ่านไปทางธนาคารตะวันออกกลางธนาคารอะไรไม่รู้(เจ้าหน้าที่แจ้งนะคะ) ไม่ลิงค์กะธนาคารไทยเลย ไม่พอแค่นั้นโดนหักไปอีก 60 ฟังค์ รวมค่าธรรมเนียม 12 ฟังค์=72ฟังค์ เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ทางธนาคารที่ลิงค์ข้อมูลไปหักเงินนั้นไป แฟนตะวันพูดไม่ออก เลยเดินกลับบ้านมา แบบหัวเสียไม่อยากโว้ยวายแล้ว แต่แม่แฟน ไปโว้ยวายแทน เป็นเรื่องถึงผู้จัดการธนาคาร ต้องตามให้ เพราะเจ้าหน้าที่ตอบแบบมั่วๆ ว่าทางธนาคารที่ลิงค์ข้อมูลไปหักเงินไป แต่จริงๆ มันไม่ใช่ กำลังตรวจสอบว่าเงินไปไหน เขาเลยทำเป็นเครสศึกษา ว่าเงินไปหายไปไหน  และยังมีจดหมายส่งมาบ้านถึงปัจจุบันนี้ เชิญไปพบ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าเงินไปไหน   แฟนตะวันเขาไม่ได้ติดใจว่าเงินหายไป 72 ฟังค์ แต่ว่ามันสองรอบครั้งคราวกะการทำแบบนี้ เลยไม่เข้าใจ   ???
    นิดหนึ่งกะข้อมูล ไทยพาณิชย์แจ้งว่าจะส่งเงินให้ง่ายจากสวิสไปไทย ให้ส่งผ่านธนาคาร UBS bank นะคะ เพราะธนาคารไทยพาณิชย์กะธนาคาร UBS ลิงค์ข้อมูลระบบเดียวกัน จะเชื่อมระบบถึงกันได้ เพราะเขามีคนดูแลระบบให้ที่นี่ด้านฝ่ายต่างประเทศคะ นี่คือข้อมูลที่ได้มาจากธนาคารไทยพาณิชย์บ้านเราค่ะ และเวลาส่งเงิน ถ้าเราไปส่งผ่านหน้าเคาร์เตอร์ให้เราระบุตรงช่องทีมีให้ระบุเองว่าส่งเป็นเงินสวิสฟังค์นะคะ เพราะถ้าเราไม่ระบุเอง เจ้าหน้าที่ธนาคารเขาจะระบุให้ แต่ถ้าว่าเขาอาจจะระบุเป็นการส่งแบบแปลงเป็นค่าเงินบาทที่สวิสแล้ว ซึ่งจะทำให้เราเสียค่าเงินไปเลย สถานะค่าเงินจะไม่เหมือนกับบ้านเราค่ะ ต่างกันไม่กี่สตางค์หรอก แต่ถ้าเราส่งเงินจำนวนมากๆ ให้เงินมันไปแปลงเป็นเงินบาทที่ไทยจะดีที่สุดเมือส่งถึง นักธุรกิจไทยหลายต่อหลายคนที่ปฏิเสธการรับเงินมาแล้ว และให้ส่งใหม่  ;)



pall

สวัสดีค่ะ คุณ tawan
ขอบคุณมากค่ะกับข้อมูลที่เขียนเล่ามา
ป้าไม่ชอบการส่งเงินทางPostเลยค่ะไม่ประทับใจและช้ามากบางครั้งต้องทะเลาะกับคนทำงานอย่างที่แฟนคุณประสบมา ป้ามาส่งเงินทางNetและส่งทางUBS ไม่เคยมีปัญหาเลยค่ะผู้รับได้รับเงินเพียง2หรือ3วัน
เคยให้ทางเจ้าหน้าที่ส่งเงินให้ราคาแพงมากร่วม 20 สวิสฟรังก์และเขาส่งเงินผู้รับไม่ได้รับเงิน  เราไปสอบถามและเงินตี้กลับเขาส่งให้ใหม่ก็ไม่ต้องเสียเงินค่าส่งใหม่อย่างPost เลยค่ะ
ขอบคุณอีกครั้งกับข้อมูลนะคะ

ปุ๋ม

 ป้าพอล คะ หนูสอบถามป้าพอล และเพื่อนสมาชิก ด้วยนะค่ะว่า. . พอดีพี่สาวจะขึ้นไปแต่งงานกับแฟนคนไทยถือพาสB แต่ก็ยัง สองจิตสองใจว่าขึ้นไปอยู่ ที่สวิสดีหรือไม่ เพราะกลัวหางานทำไม่ได้ พี่สาวเก่งเรื่องทำครัวเพราะไปเรียนทำอาหารนาๆชาติ และเก่งเรื่องการจับเส้นคลายเส้น ถ้าเขาไปที่สวิสจะหางานทำยากมั้ยค่ะ แต่ว่างานอะไรก็ได้เป็นงานโรงงานก็ได้ หายากมั้ยคะ แล้วเงินเดือนขั้นต้น ประเท่าไหร่ค่ะพี่สาวหนูอยากทราบข้อมูลก่อนไปสวิสคะ จะได้ตัดสินใจดูอีกครั้งคะ ขอขอบคุณป้าพอลและเพื่อนๆสมาชิกทุกคนล่วงหน้านะคะ

NA-SP

หวัดดีค่ะป้าพอล และทุกๆคน

สำหรับการส่งเงินจากประเทศสวิส (หรือจากต่างประเทศทุกประเทศ) ไปยังประเทศไทย ง่ายนิดเดียวค่ะพี่ๆ เพื่อนๆ
แค่ให้ญาติๆ ที่อยู่ประเทศไทยเปิดบัญชีเงินฝากออกทรัพย์ไว้
แล้วเราก็บอกกับธนาคารว่า เราจะโอนเงินจากต่างประเทศ มาที่ประเทศไทยให้กับญาติๆ
ขอโอนผ่านรหัสจากต่างประเทศด้วยค่ะ นั่นก็คือโอนผ่าน Swift Code ของธนาคารต่างๆ นั่นเอง
เช่น ธนารคารทหารไทย      คือ TMBK THBK
   ธนารคารกสิกรไทย      คือ KASI THBK
   ธนารคารกรุงไทย        คือ KRTH THBK
   ธนารคารกรุงศรีอยุธยา คือ AYUD THBK
   ธนารคารทหารไทย      คือ SICO THBK

ซึ่งมีทุกธนาคารอยู่แล้ว สำหรับโอนเงินผ่านจากต่างประเทศ เข้ามาในไทย
แล้วเราก็จัดการเอาเลขที่บัญชี และชื่อ ของผู้รับเงินปลายทางที่ประเทศไทยมาด้วยนะ (สำหรับโอนเงินเข้าค่ะ)
ค่าธรรมเนียม ถ้าต่ำกว่า 50,000.  บาท เสียแค่ 200 บาท ซึ่งธนาคารจะหักปลายทางของผู้รับเงินที่เมืองไทยค่ะ
ถ้าเกิน 50,000.  - ขึ้นไป ธนาคารก็จะหักค่าธรรมเนียม 500 บาท ค่ะ ไม่มากไปกว่านั้น
(เพราะฟิตค่าธรรมเนียม อยู่แค่ 200.  -500.  - บาทค่ะ)
คิดว่าค่าธรรมเนียมถูกกว่าทุกที่นะคะ เพราะเมื่อก่อนโอนผ่าน Western Union Bangk, ค่าธรรมเนียมแพงมากๆ ค่ะ

ลองดูนะค่ะ เพราะเราก็อยู่สวิสเซอร์แลนด์ เหมือนกัน และก็โอนไปให้ทางบ้านบ่อยๆค่ะ
จากน้องใหม่ นา จันทบุรีค่ะ
บายค่ะ

kantana

สวัสดีค่ะ.. 

ดีมากเลยที่มาพบ webboard นี้เข้ามีคำถาม เหมือนกันค่ะ
พอจะทราบกันมั้ยคะ   คือแฟนอยู่คูเวต  ไม่ทราบว่าโอนผ่าน
ธนาคารอะไรจากคูเวตมาได้คะ   เคยโอนมาทาง Westren Union
แพงมากเลย 

ขอบคุณมากนะคะ
kantana

busymom

สวัสดีค่ะป้าพอลและสมาชิกทุกคน
ดิฉันมีประสบการณ์ในการโอนเงินกลับเมืองไทยพอสมควร เพราะว่าอยู่ที่สวิสย้ายกลับไปแล้วพึ่งย้ายกลับมายังไม่ถึงสองปี มีสิ่งที่ต้องจ่ายในเมืองไทยทุกเดือน คิดว่าคงมีประโยชน์กับสมาชิกในบ้านป้าพอลค่ะ ขอยืนยันระบบของคุณนาดีมากไม่แพง และเพิ่มอีกอย่างคือขอเปิดระบบอินเตอร์เน็ต(SCB Easy Net) ดิฉันใช้ไทยพาณิชย์เพราะระบบเขาดี รวดเร็วปลอดภัย ขนาดโดนล้วงกระเป๋ามีคนเอาบัตรไปกดเงินเจ้าหน้าที่โทรมาหาทันทีโดยตรง ตัวเองยังไม่ทราบเลยว่ากระเป๋าหาย วิธีทำ(เข้าใจว่าหลายคนทราบ)
-ปริ้นข้อมูลจากเน็ต(www.scbeasy.com)กรอกข้อมูลให้ครบแล้วนำไปยื่นสาขาที่เราเปิด(ไม่แน่ใจว่าปัจจุบันสมัครทางเน็ตโดยตรงเลยหรือเปล่า?)
-ธนาคารเขาจะให้เรามีLogin name และ Password
-ทำรายการเอง โดยเฉพาะรายการโอนเงิน จำเป็นต้องทำที่เมืองไทยเพราะเขาจะต้องตอบโค้ตกลับมาให้เราใส่ทางมือถือ (ลองเข้าไปอ่านในเว็บของเขาค่ะ)
กรณีที่เราอยู่ที่นี่ให้ใครที่อยู่เมืองไทยที่พอรู้เรื่องเน็ตจัดการไปเปิดบัญชีสักร้อยสองร้อยบวกค่าบัตรเอทีเอ็ม(ไม่เกินห้าร้อย) ให้เขาทำรายการมีล็อกอินและพาสเวิร์ดมาก่อนแล้วเราค่อยเปลี่ยนระหัสอีกที ถ้าไม่เอาบัตรได้หรือเปล่าไม่ทราบหรือฝากคนที่ไว้วางใจมากที่สุด ถ้าเขาจะโกงเอาเงินร้อยบาทของเราถือว่าทำบุญ ดีที่สุดคุณควรจัดการตอนกลับเมืองไทยใส่รายชื่อที่จะโอนไว้เลยได้เป็นสิบๆบัญชี ดิฉันนั่งโอนที่นี่ไม่เสียค่าบริการ เลยสี่พันบาทหักค่าบริการห้าบาท(แบ๊งเดียวกันต่างแบ็งค 25 บาท)เวลาเราโอนให้ใครมีบริการส่งเอสเอ็มเอสไปบอกฟรีอีกด้วย ลองเข้าไปศึกษาในแว็บเขาดูนะคะ
ประภาภรณ์