เรียน ป้าพอล และ ท่านที่รู้ เรื่อง กฏหมายรับบุตรบุญธรรมของสวิส

Started by ฉไวซท์, July 09, 2004, 03:25:51 AM

Previous topic - Next topic

ฉไวซท์

ใครรู้กฏหมาย การรับบุตรบุญธรรม  หรือ  "Adoption " ของประเทศสวิสบ้างค่ะ ช่วย ออกความคิดเห็นหน่อยค่ะ

**กระทู้นี้เป็นกระทู้เดิมหมายเลข 0343 ห้อง pallswiss (เผื่อใช้ในการค้นหา)**

แจง

แจงเปิดดูจากวารสาร รวงข้าว เพราะจำได้ว่าฉบับล่าสุดเค้ามีเรื่องนี้พอดี
 
 การรับบุตรบุญธรรม
 
 *  การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมนั้น บุตรบุญธรรมทุกคนมีสิทธิที่จะรู้ประวัติของตรเอง มีสิทธิรับรู้ว่าพ่อแม่ของตนคือใคร และรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขอรับเป็นบุตรบุญธรรม ดังนั้นศาลสูงสมาพันธรัฐสวิสจีงกำหนดไว้ว่า จะต้องอธิบายให้ผู้เยาว์ที่มีอายุระหว่าง 4 ปี ถึง 14 ปี ได้รับรู้ เมื่อมีการเดินเรื่องรับบุตรบุญธรรม ในคำร้องที่เขียนยื่นขอรับบุรบุญธรรมจะต้องชี้แจงรายละเอียดเรื่องกำหนดเวลาและเหตุผลที่ต้องการรับเป็นบุตรบุญธรรม ผู้เยาว์มีปฏิกริยาโต้ตอบเช่นไรบ้าง และ เมื่อมีผู้ใดมีความเห็นว่าการรับบุตรบุญธรรมนี้จะนำมาซึ่งผลเสียต่อเด็กและเป็นภัยต่อเด็ก ต้องชี้แจงเหตุผล
 
 *  ผู้เยาว์ซึ่งจะเป็นบุตรบุญธรรมต้องแสดงเจตจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยลายมือของตนยินยอมเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์อายุครบ 12 ปีเต็ม หรืออายุมากกว่าสิบสองปีขึ้นไป
 
 *  บุตรของผู้ที่ขอรับบุตรบุญธรรมแสดงความคิดเห็นและยินยอมการขอรับบุตรบุญธรรมเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อมีอายุครบ 14 ปีบริบูรณ์
 
 *  ยื่นเรื่องคำร้องขอเปลี่ยนชื่อต้น ในกรณีที่บุตรบุญธรรมควรจะเปลี่ยนชื่อต้น หรือในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวอักษรที่ใช้เขียนชื่อ
 
 คำร้องดังกล่าวยื่นพร้อมลงลายมือชื่อของบิดาและมารดารที่ต้องการขอรับบุตรบุณธรรม และยื่นได้ที่ Kantonales Jugendamt ของรัฐที่ผุ้ขอรับบุตรบุญธรรมอยู่อาศัย เช่นที่ รัฐเบิร์น ยื่นได้ที่
 
 Kantonales Jugendamt Bern
 z.H. Justiz-, Gemeinde-und Kirchendirektion
 Gerechtigkeitsgasse 81,3011 Bern
 
 ในกรณีที่ยื่นคำร้องขอรับเด็กในความอุปการะดูแล หรือลูกเลี้ยง (Pflege oder Stiefkind)  เป็นบุตรบุญธรรมนั้น จะต้องยื่นเอกสารแตกต่างออกไป
 
 

แจง

 ***การขอรับบุตรของคู่สมรส(ลูกเลี้ยง) เป็นบุตรบุญธรรม (Adoption eines Stiefkindes)  
 
 (อ้าว พิมพ์ไปตั้งเยอะ เพิ่งมาถึงที่คุณฉไวซท์ ถาม 5555555555)
 
 
 ในกรณีดังกล่าวนี้ คู่สมรสจะต้องจดทะเบียนสมรสครบ 5 ปี จึงจะยื่นคำร้องได้ถึงแม้ว่าผู้ที่ยื่นคำร้องขอรับบุตรบุญธรรมจะมีอายุเกิน 35 ปีก็ตาม การยื่นคำร้องขอบุตรบุญธรรมในกรณีดังกล่าวจำเป็นต้องแนบเอกสารเพิ่มเติมคือ
 
 *  หนังสือยินยอมของมารดาหรือบิดาโดยกำเนิดของผู้เยาว์ที่จะขอรับเป็นบุตรบุญธรรม
 
 *  ในกรณีที่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ ( Fehlende Zustimmung) ต้องแจ้งที่อยู่ครั้งสุดท้ายที่ทราบของบิดาหรือมารดา ผู้ซึ่งไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมต่อเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่ไม่สามารถนำหนังสือยินยอมดังกล่าวมาแสดงได้ต้องทำหนังสือยื่นรำร้องและชี้แจงเหตุผล
 
 
 หนังสือแสดงเจตนายินยอมดังกล่าวนี้ไม่ต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่ก็ต่อเมื่อ  *  บิดาหรือมารดาไม่ปรากฎ ( unbekannt)    
 หรือหาตัวไม่พบ (unbekannt abwesend)  
 หรือถูกศาลสั่งให้เป็น  * ผู้เสมือนไร้ความสามารถตลอดไป(dauerndurteils - unfähig)
 หรือ มิได้ดูแลเลี้ยงดูทอดทิ้งบุตร
 
 *  ถ้าเอกสารส่วนบุคคลของเด็ก (Personenstandsausweis) (สำหรับชาวไทยคือ สูติบัตร)  ไม่ปรากฎชื่อและสกุลขอบิดา ก็ไม่ต้องมีหนังสือยินยอม แต่ต้องแจ้งเหตุผลให้เจ้าหน้าที่ทราบ
 
 *  ต้องแจ้งรายชื่อผู้อ้างอิง 3 คน ซึ่งพร้อมจะให้ข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวของผู้ยื่นคำร้อง โดยยื่นรายชื่อพร้อมคำร้องการขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
 
 
 
 

แจง

**** เอกสารต่างๆที่ผุ้ขอจดทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรมต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่****
 
 *  เอกสารทั้งหมดต้องเป็นต้นฉบับตัวจริง และต้อมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันออกเอกสาร
 
 *  หนังสือแสดงภูมิลำเนา(Familienschein)  ซึ่งชาวสวิสจะขอได้ที่อำเภอที่ตนมีภูมิลำเนาเดิมอยู่(Zivilstandsamt der Heimatgemeinde)
 
 *  ใบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ (Wohnsitzbescheinigung)    
 ขอได้จากกองทะเบียนราษฏร์ (Einwohnerkontroller der Wohnsitzgemeinde)
 
 *  หลักฐานที่แสดงว่า คู่สมรสของฝ่ายที่ยื่นขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม คือบิดา หรือ มารดา โดยกำเนิดมีสิทธในการปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว กรณีที่มีบันทิกการหย่าระบุเรื่องสิทธการปกครอบบุตร ต้องยื่นหนังสือสำคัญดังกล่าวแนบมาด้วย
 
 * เมื่อดำเนินเรื่องขอเปลี่ยนชื่อสกุลเรียบร้อยแล้ว ต้องยื่นเอกสารเปลี่ยนชื่อสกุลแนบมาพร้อม (Namensänderungsurkunde)
 
 **กรณีบุตรบุญธรรมในอนาคตเป็นคนต่างด้าว
 
 * เอกาสารทั้งหมดของประเทศนั้นๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิในการปกครอบบุตร เช่นบันทิก การหย่า คำสั่งศาลเรื่องสิทธิการปกครอง เป็นต้น  และต้องเป็นต้นฉบับตัวจริง ในกรณีที่ไม่มีเอกสารดังกล่าว บิดาหรือมารดาโดยกำเนิด ต้องลงลายมือชื่อในหนังสือยืนยันว่า เป็นผู้ที่มีสิทธิในการปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
 
 * สูติบัตรของเด็ก และต้องเป็นต้นฉบับตัวจริง
 * หนังสือเดินทาง หรือบัตรประชาชนตัวจริง
 --------------------------------------
 
 แจงรีบพิมพ์ ถ้าผิดต้องขอโทษด้วยนะจ้า..
 แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อความชัวร์ ให้โทรไปสอบถามโดยตรงจากสถานฑูตไทยได้เลยจ้า...
 
 
 

ถามหน่อย

คุณฉไวซท์ ถามนิดนึงคุณและสามีจะรับเด็กมาเป็นลูกบุญธรรมหรือเปล่า   หรือขอโทษที่ต้องถามอีกว่า  หรือว่าสามีคุณจะรับลูกติดของคุณเป็นลูกบุญธรรม จะได้ตอบให้ถูกนะคะที่ถามแบบนี้

ง่า

 
   1. ถ้าหาว่ามีบุคคลต่างชาติมารับเด็กไทยไปเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว  การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมนั้นต้องใช้กฎหมายของผู้รับหรือเด็ก  
 
 2. และผลภายหลังจากการจดทะเบียนแล้วจะใช้กฎหมายฝ่ายใดในการบังคบกับเด็ก  หรือว่าใช้กฎหมายไทยกับเด็กคนนั้น
 
 3. และถ้าจะเลิกรับเด็กเป็นบุตรจะใช้กฎหมายใดในการบังคับ