News:

ยินดีต้อนรับ สู่ Pall Swiss เว็บบอร์ดตัวใหม่

Main Menu

ฮาโลวีนมาแล้วจ้า

Started by ต๋อย, November 01, 2004, 05:42:26 AM

Previous topic - Next topic

pall

มากร๊ากกับแจง
 ป้าคงโง่กว่าแจงแน่ๆ
 ทุกวันยังพูดไม่กระดิกเฮดเลย.
 ว่าไปป้าก็ขี้เกลียดเรียนมาก.
 เห็นคนไทยที่นี่พูดเก่งๆกันแล้วปลื้มใจมาก.
 ถ้าแจงเก่งเมื่อไรจะเดินตามหลัง.
 
 สวัสดีจ๊ะต๋อย
 
 เรียนเก่งเมื่อไรมาช่วยสอนป้าด้วย.
 ภาษาเยอรมันยากมากจริงๆ
 รอคนเก่งๆมาตอบดีกว่า.

ดึ๋ยย์

ดึ๋ยย์ขออธิบายแกรมม่าเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่าง Akkusativ und Dativ  คร่าวๆ นะค๊า เพราะให้ละเอียดนี่คงไม่ไหวค่า เยอะค่า ลองหาหนังสือแกรม่ามาลองศึกษาดูละกัน หรือไม่ก็ใช้บ่อยๆ เดี๋ยวก็แยกแยะออกเองค่ะ
 เอาเรื่องของคำนาม (Nomen) ก่อน
 ** คำนามเมื่อทำหน้าที่เป็นกรรมตรง (Akkusativ) ถูกใช้เพื่อกรณีต่างๆ ดังนี้
 1. เพื่อกำหนดกริยาส่วนเติมเต็มกรรมตรง (Akkusativ-Ergaenzung)  อันนี้ต้องดูว่า กริยาตัวใดที่ใช้คู่กับกรรมตรงบ้าง ดูในดิกชินนารี่แล้วจำๆ เอานะคะ เช่น
 - Ich brauche einen Bleistift.
 - Wir hoeren einen Dialog.
 2. เพื่อใช้ประกอบกับบุพบท (Praeposition) ได้แก่ bis, durch, entlang, fuer, gegen, ohne, um และ um...herum เช่น
 - Claudine kauft Rosen fuer ihren Mann.
 - Gehen Sie um den Hauptbahnhof herum.
 3. เพื่อให้ประกอบกับบุพบท  (Praeposition) ได้แก่ an, auf, hinter, in, neben, ueber, unter, vor และ zwischen **เมื่อกำลังกล่าวเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว หรือไปถึงจุดหมาย เช่น
 - Herr Chaptal geht in den Park.
 - Wir fahren in die Schweiz
 4. เพื่อแสดงน้ำหนักและหน่วยมาตราการวัด ในการใช้ประกอบกับคำคุณศัพท์ (Adjektiv) ได้แก่ alt, breit, gross, hoch, lang, schwer, tief เช่น
 - Das Kind ist einen meter gross.
 5. เพื่อแสดงเวลา เช่น
 - Sie spielen den ganzen Tag Fussball.
 6. เพื่อให้รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรรมตรงในประโยค  เช่น  
 - Kennst du Herrn Serrano, den Mechaniker?
 ** ส่วนคำนามเมื่อทำหน้าที่เป็นกรรมรอง (Dativ) ก็จะเป็นส่วนตรงข้ามกับที่กล่าวไว้เกี่ยวกับกรรมตรงข้างบน คือ ถูกใช้เพื่อกรณีต่างๆ ดังนี้
 1. เพื่อเติมเต็มกริยาที่ต้องมีกรรมรองมารับ ((เปิดดิกฯ แล้วจำๆ ตัวกริยาเหมือนกัน ว่าตัวไหนบ้างที่ต้องมีกรรมรองมารับ)) เช่น
 - Das Bild gefaellt meinem Vater.
 - Die Vase gehoert meiner Mutter.
 2. เพื่อใช้ประกอบกับบุพบท ได้แก่ an...vorbei, aus, bis, zu, gegenueber, mit, nach, seit, von, von...aus และ bis...zu เช่น
 - Fahren sie an der Kirch vorbei.
 - Gestern war ich bei meiner Tante.
 3. เพื่อใช้ประกอบกับบุพบท ได้แก่ an, auf, hinter, in, neben, ueber, unter, vor และ zwischen **เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่ไม่มีการเคลื่อนเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง หรือเกี่ยวกับสถานที่ตั้งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น  
 - Herr Chaptal sitzt im Park.
 - Wir wohnen in der Schweiz.
 4. เพื่อใช้ประกอบกับคำคุณศัพท์ (Adjektiv)ได้แก่ aehnlich, angenehm, bekannt, dankbar หรือ fremd เช่น
 - Sie ist meiner Schwester aehnlich.
 5. เพื่อให้รายละเอียดในประโยค ที่เกี่ยวข้องกับกรรมรอง เช่น
 - Das Bild gehoert Herr Chaptal, dem mann von Claudine. ((กริยา gehoeren ต้องตามด้วยกรรมรองเสมอ dem mann ขยายรายละเอียดของ  Herr Chaptal ซึ่ง ณ ที่นี้เป็นกรรมรอง มันจึงมีรูปเป็นกรรมรองตามไปด้วย))
 
 เริ่มปวดหัวแล้วใช่ป่ะคะ ที่นี้มาเกี่ยวกับเรื่องบุพบทบ้าง
 
 คำบุพบท ที่จะต้องตามด้วยกรรมตรง (Akkusativ) เสมอ ได้แก่ bis, durch, entlang, fuer, gegen, ohne, um, um...herum ((อันนี้ท่องให้ขึ้นใจเลยนะคะ เจอปุ๊บ ให้รู้เลยว่า ตามด้วยกรรมตรงแน่นอน)) ตัวอย่างประโยค เช่น
 - Bezahlen Sie die Rechnung bis dreissigsten April.
 - Rotkaeppchen geht durch den Wald.
 - Gehen Sie diesen Weg entlang.
 - Ich kaufe Rosen fuer dich.
 - Er ist gegen einen Baum gefahren.
 - Ich bin sehr traurig ohne dich.
 - Es ist schon dunkel um diese Zeit.
 - Fahren Sie um den Platz herum.
 
 คำบุพบท ที่จะต้องตามด้วยกรรมรอง (Dativ) เสมอ ได้แก่ an...vorbei, aus, bei, gegenueber, mit, nach, seit, von, von...aus, zu เช่น
 - Fahren Sie an der Ampel vorbei.
 - Ich komme aus der Schweiz.
 - Ich war bei meinem Freund.
 - Das Museum steht gegenueber der Kirche.
 ** ครูดึ๋ยย์เคยให้ท่องจำง่ายๆ ว่า VON AUSBEIMIT NACH VONSEITZU FAEHRST IMMER MIT DEM DATIV ZU.
 
 คำบุพบท ที่จะตามด้วยกรรมตรง (Akkusativ) หรือกรรมรอง (Dativ) ได้แก่ an, auf, hinter, in, neben, ueber, unter, vor, zwischen อันนี้จะแยกแยะได้ด้วยการดูที่ตำแหน่งหรือการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนตำแหน่งในสิ่งที่กล่าวถึง คือ
 - จะตามหลังด้วยกรรมตรงเมื่อกมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงสถานที่ หรือมีการเดินทางเคลื่อนย้าย (เวลาถามจะใช้ wohin?) เช่น
 Wohin gehst du? ---> เธอจะออกไปไหนอ๊ะ
 In die Bar. ---> (ตอบ) ไปเที่ยวบาร์ (อิ อิ)
 Motion > Praeposition + Akkusativ
 
 - ถ้าไม่มีการเคลื่อนย้ายเกิดขึ้น จะต้องตามด้วยกรรมรอง (เวลาถามจะใช้ Wo?) เช่น
 Wo bist du? ----> เธออยู่ที่ไหนง่า
 In der Bar. ---> ฉันอยู่ในบาร์
 Location > Praeposition + Dativ
 
 สังเกตเปรียบเทียบ
 Motion (Akk.)                                                     Location (Dat.)
 - Er haengt das Bild an die Wand.             Das Bild haengt an der wand.
 - Ich lege das Buch aud den Tisch.           Das Buch liegt auf dem Tisch.
 - Das Kind laeuft hinter das Haus.              Das Kind spielt hinter dem Haus.
 
 เฮ่อ....เหนื่อย.....ยาวมั่กๆ ดึ๋ยย์ว่าดึ๋ยย์สรุปสั้นๆ แล้วเชียวนา  
 ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นหลักแกรมม่าแบบอ่านแล้วปวดหัวค่ะ ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใด ช่วยชี้แจงกันด้วยค่ะ เพราะหลายหัวดีกว่าหัวเดียวนา ดึ๋ยย์เองก็เรียนๆ เล่นๆ มาตลอด คงไม่ถูกต้องเปะๆ ไปเสียหมด  
 หลักแกรมม่าถ้าจำได้ก็ดี เพราะจะทำให้แบ่งแยกได้ง่ายขึ้น ทีนี้มาลองดูการฝึกสร้างประโยคบ้าง

ดึ๋ยย์

**การสร้างประโยคกับกรรมตรง (Akkusativ) และกรรมรอง (Dativ)
 ให้ลองทำความเข้าใจกับหน้าที่ของ"กรรมในประโยค" ก่อน คำกริยา (คือ คำที่แสดงการกระทำ) จะเป็นตัวบอกว่าผู้กระทำ (ประธานในประโยค) ทำอะไร แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ กริยาที่จำเป็นต้องมีกรรมมารับ เช่น essen (กิน--กินอะไร), haben (มี-- มีอะไร)เช่น
 Ich habe eine Waschmaschine im Keller. (ฉันมีเครื่องซักผ้า 1 เครื่องในห้องใต้ดิน)
 ich = Nominativ, habe = Verb, eine Waschmaschine = Akkusativ, im Keller = wo?)
 และกริยาที่ไม่จำเป็นต้องมีกรรมารองรับ เพราะได้แสดงการกระทำอย่างชัดเจนแ้ล้ว เช่น gehen,  laufen, rennen, schlafen etc. เช่น  
 - Kinder laufen schnell.
 (Kinder = Nominativ, laufen = Verb, schnell = Adjektiv)
 
 เมื่อสามารถแยกแยะส่วนประกอบต่างๆ ในประโยคได้แล้ว ให้ลองไปฝึกทำความเข้าใจตารางการผันคำนำหน้านามทั้งแบบเฉพาะเจาะจง (der, die, das)และแบบไม่เฉพาะเจาะจง (ein, eine, ein) ให้คล่อง รวมทั้งการผันรูปของคำสรรพนาม (Pronomen) เมื่อทำหน้าที่เป็นประธาน กรรมตรง และกรรมรองด้วยค่ะ ((ไม่แปะตรงนี้นะคะ ขี้เกียจทำตาราง คาดว่าคงหาอ่านเองได้))
 
 ทีนี้มาดูการเชื่อมรูปประโยคแบบคร่าวๆ นะคะ
 1. ประธาน
 - kinder schlafen. (เด็กๆ นอนหลับ) ประโยคนี้ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารับ เพราะเห็นชัดเจนว่า ใครทำอะไร รูปประโยคประกอบด้วย
 Wir (ประธาน ---> Wer, Was?) + schlafen (กริยา --->Verb)
 2. กรรมตรง
 - Wir kaufen ein Auto. ประโยคต้องการกรรมมารับเพื่อบอกว่า พวกเราซื้ออะไร
 Wir (ประธาน ---> Wer, Was?) + kaufen (กริยา --->Verb) + ein Auto (กรรมตรง ---> wen, was?)
 3. กรรมรอง
 Wir kaufen unserer Mutter ein Auto. ประโยคบอกได้ชัดเจนมากขึ้นว่า พวกเราซื้อรถคันหนึ่งให้กับคุณแม่ของพวกเรา unserer Mutter จึงไม่ได้เป็นกรรมตรง แต่ทำหน้าที่เป็นกรรมรองเพราะ คุณแม่ไม่ได้ถูกซื้อ แต่รถเป็นสิ่งที่ถูกซื้อ ein Auto จำทำหน้าที่เป็นกรรมตรงมารับกับกริยา kaufen
 Wir (ประธาน ---> Wer, Was?) + kaufen (กริยา --->Verb) + unserer Mutter (กรรมรอง ---> Wem, Was?) + ein Auto (กรรมตรง ---> wen, was?)
 ทั้งนี้นะคะ *** ในกรณีที่ในประโยคมีกรรมตรงและกรรมรองเป็นคำนาม จะต้องเขียนโดยให้กรรมรองมาก่อนกรรมตรงเสมอ แต่...
 *** ในกรณีที่กรรมตรงและกรรมรองในประโยคเป็นคำสรรพนาม ให้เขียนกรรมตรงก่อนกรรมรอง เช่น  
 - Ich kaufe ein Buch. ---> Mein Vater liest gern das Buch. ---> Ich schenke meinem Vater das Buch. ----> Ich schenke ihm das Buch.----> Ich schenke es ihm. (es = das Buch, ihm = meinem Vater) ลองหาประโยคง่ายๆ มาลองฝึกเขียนพลิกแพลงไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ถึงบางอ้อเองค่ะ ใจเย็นๆ
 
 ส่วนการถามประโยค Wo, Wohin? ก็ยึดหลักการเคลื่อนที่หรืออยู่กับที่ตามหลักแกรมม่าค่ะ จำง่ายๆ ว่า
 - Wo?(อยู่ที่ไหน) ---> Dativ  
 - Wohin?(ไปที่ไหน) ---> Akkusativ
 
 วุ่นหน่อยนะคะ เพราะบอกทางตัวหนังสือจะยากกว่าสอนต่อหน้า บางทีต้องพยายามทำความเข้าใจนิดนึง เพราะดึ๋ยย์คงเรียบเรียงเนื้อหาได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ตอนนี้ก็เหนื่อยแร่ะ เรื่องประโยคอดีตแบบ Perfekt  ยกยอดไว้วันหลังนะคะ

pall

สวัสดีจ๊ะดึ๋ยย์
 ป้าเชื่อแล้วหล่ะว่าดึ๋ยย์เหนื่อยมาก
 ขนาดแค่อ่านแกรมม่าที่เขียนมาป้าเริ่มตาลายเลย.
 อืมภาษานี้ยากมากจริงๆๆ.
 
 พูดจริงๆนะดึ๋ยย์
 ถ้าว่างน่าจะเข้ามาช่วยคุยกันเรื่องภาษาเยอรมัน
 แจงเขาจะได้ขยันเรียนสักหน่อย.และป้าคิดว่า
 ต้องมีคนสนใจเข้ามาแอบอ่านและนำไปใช้.
 อิอิตั้งทู้ใหม่เขียนครั้งละนิดและหน่อย
 แบบใช้หัวข้อพูดคุยกันเรื่องภาษาเยอรมัน
 ดึ๋ยย์ว่าดีไหม?
 
 
 

ต๋อย

ขอบคุณมากเลยนะดิ๊ยย์ อุ้ยชื่ออ่านยากและเขียนยากจังตัวเอง แต่ว่าชื่อนั้นสำคัญไฉนเนอะ.   เราเรียนมา จะเข้า 10 อาทิตย์แล้วแต่ยังสับสนเธอช่วยเราได้มากเลย เนี่ยกำลังตัดสินใจว่าจะหยุดพักเรียนซัก อาทิตย์ 2 อาทิตย์เพื่อทบทวนของเก่า ขอบคุณมากๆ อีกครั้ง ว่าแต่ว่าทำแบบป้าพอลว่าก็ดีนะ ช่วยเพื่อนคนไทยด้วยกัน  แต่อย่างว่าล่ะนะต้องอดทนนั่งพิมพ์ให้เพื่อนอ่าน  ถ้าต๋อยรู้เรื่องมากกว่านี้ก็อยากเขียนให้เพื่อนๆ อ่านเหมือนกันแต่ตอนนี้เอาตัวเองจะยังไม่รอด ขอผลัดไว้ก่อน ฮิฮิ ดิ๊ยย์ตัวเองอยู่จังหวัดไหนเหรอ เราหาซื้อไวยกรณ์ที่อธิบายหลักแกรมม่าไทยที่ไหนเอ่ย. ถ้าเรามีปัญหาเข้ามาถามเธอเรื่อยๆไม่ว่ากันนะตัวเอง

ดึ๋ยย์

ดึ๋ยย์ก็อยากทำนะป้า pall แต่ดึ๋ยย์จะขยันเป็นพักๆ เคยเขียนสรุปไปหลายรอบ แล้วก็ทิ้งๆ ขว้างๆ หายหม๊ด ถ้าให้ดึ๋ยย์ทำ สงสัยต้องไปถอนขนตัวขี้เกียจออกให้หมดก่อน มันเกาะติดยุบยั่บเลย ((กร๊ากกกก....))
 ดึ๋ยย์ว่า ต๋อยไม่ต้องหยุดเรียนหรอก เรียนต่อไปเหอะ เข้้าใจหรือไม่เข้าใจ ก็นั่งฟังๆ ไป มันซึมซับนา ขอบอก เพียงแต่ว่า อย่าทิ้งก็เท่านั้นเองหง่ะ เรียนเรื่อยๆ เหนื่อยก็หลับ หัดท่องการผันรูปแบบต่างๆ ให้แม่นๆ จะช่วยได้เยอะเลย
 ดึ๋ยย์อยู่ใกล้ๆ Baden ค่ะ ส่วนหนังสืออธิบายแกรมม่าเป็นภาษาไทย ดึ๋ยย์ไม่รู้อ๊ะ เพราะดึ๋ยย์ใช้แต่ตำราเยอรมัน ไปร้านหนังสือในเมือง เปิดๆ หาเล่มที่ดูๆ แล้วน่าจะถูกชะตากะเรา หมายถึงว่า ดูรวมๆ แล้วมันอ่านแล้วเข้าใจง่ายหน่อย มีตัวอย่างกะแบบฝึกหัดให้ลองทำด้วย ก็ลองซื้อมาเรียนดู ค่อยๆ ไต่ระดับหนังสือไป จากหนังสือให้คนเริ่มเรียน ไปจนถึงพวกขั้นสูงๆ  
 แรกๆ จะยากมั่กๆ เลย แต่ดึ๋ยย์จะพยายามแปลไปเรื่อยๆ คิดเสียว่า อย่างน้อย ก็ได้ศัพท์ไปพร้อมๆ กะแกรมม่าหล่ะว๊า
 แล้วดึ๋ยย์ก็จะเขียนสรุปเป็นภาคไทย ไว้ทบทวนควบคู่กันไป เวลาดูบทสรุปแกรมม่าของดึ๋ยย์ มันเลยจะกลายเป็นยำใหญ่จากหลายๆ ตำรางัยหละ่ สร้างความมึนได้พอสมควร
 ถ้ามีปัญหาถามได้ค่า ดึ๋ยย์จะตอบถ้าตอบได้ ยินดีช่วยค่ะ